Thai SDA Church

Smile to the World and the World will smile back at you.

chapter 2:ท่ามกลางคันประทีป

     บทที่ 2
     ท่ามกลางคันประทีป
     วันที่ 5 - 11 มกราคม 2019
     Among the Lampstands

 บ่ายวันสะบาโต

 

      อ่านข้อพระคัมภีร์สำหรับบทเรียนสัปดาห์นี้

     วิวรณ์ 1:9-18; กิจการฯ 7:54-60; มัทธิว 12:8; อพยพ 20:11;ดาเนียล 10:5, 6; วิวรณ์ 1:20; วิวรณ์ 2:1-7

ข้อควรจำ

          “คนที่ชนะ เราจะให้เขานั่งกับเราบนพระที่นั่งของเรา เหมือนอย่างที่เรามีชัยชนะแล้ว และได้นั่งกับ
พระบิดาของเราบนพระที่นั่งของพระองค์” (วิวรณ์ 3:21)“ใครมีหูก็ให้ฟังข้อความที่พระวิญญาณตรัสกับคริสตจักรทั้งหลาย คนที่ชนะเราจะให้เขากินผลจาก
ต้นไม้ที่ให้ “ชีวิต” ที่อยู่ในเมืองบรมสุขเกษมของพระเจ้า” (วิวรณ์ 2:7)

     พระธรรมสดุดี บทที่ 73 กล่าวพรรณนา ถึงความลำบากใจของกษัตริย์ดาวิดผู้ได้รับการดลใจให้เขียนพระธรรมสดุดี ขณะที่ท่านสังเกตความขี้โอ่ และรู้สึกหยิ่งของผู้ที่ไม่มีพระเจ้า พวกเขามีชีวิตในความอุดมสมบูรณ์ในโภคทรัพย์ และใช้ชีวิตในความสะดวกสบาย และความอยุติธรรมสิ่งนี้รบกวนจิตใจของผู้เขียนพระธรรมสดุดีอย่างยิ่ง (สดุดี 73:2-16) แต่เมื่อกษัตริย์ดาวิดเข้าไปยังสถานนมัสการพระเจ้า (สดุดี 73:16, 17) ณ ที่นั่นพระองค์ได้รับความเข้าใจ เรื่องราวต่างๆลึกซึ้งขึ้น

      ศตวรรษต่อมา อัครทูตในวัยสูงอายุท่านหนึ่งได้พบตัวท่านเองอยู่ในเกาะร้างอย่างโดดเดี่ยวบนพื้นที่ซึ่งเต็มไปด้วยก้อนหิน อันเนื่องมาจากความสัตย์ซื่อในการเป็นพยานของท่าน ขณะอยู่ในภาวะเศร้าหมอง ท่านได้รับข่าวสาร อัครทูตยอห์นได้รับนิมิตเกี่ยวกับพระคริสต์ผู้ทรงฟื้นพระชนม์กำลังทำหน้าที่ในพระมหาวิหารบนสวรรค์ ณ ที่นั่นเหมือนที่ท่านผู้เขียนพระธรรมสดุดี องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงเปิดเผยให้อัครทูตยอห์นรับทราบถึงข้อลึกลับบางประการของชีวิต ภาพในพระมหาวิหารทำให้ท่านยอห์นเชื่อมั่นในการปรากฏพระองค์ให้เห็นของพระคริสต์ ที่ทรงเอาพระทัยใส่ และประทานความเชื่อมั่นให้เหล่าผู้เชื่อผ่านไปทางคริสตจักรเหล่านี้ ซึ่งจะส่งต่อไปยังคริสเตียนในรุ่นอายุต่อไปเป็นทอดๆ ตลอดศตวรรษหน้ากระทั่งวาระสุดท้ายของประวัติศาสตร์โลก
     เพิ่มเติมจากการอารัมภบทเรื่องพระคริสต์ทรงดำเนินพันธกิจในพระ-วิหารบนสวรรค์ สัปดาห์นี้เรากำลังมองไปยังข่าวสารพิเศษฉบับแรกของข่าวสารทั้งเจ็ด ที่พระคริสต์ทรงสื่อข่าวถึงคริสตจักรทั้งเจ็ดในเอเซียน้อยโดยรวม ซึ่งข่าวดังกล่าวนี้มีความหมายสำหรับเราในปัจจุบันด้วย สัปดาห์ต่อไปเราจะมองไปยังข่าวสารที่ส่งถึงอีกหกคริสตจักรต่อไป

วันอาทิตย์ 

บนเกาะปัทมอส  On Patmos

 

      อ่านพระธรรมวิวรณ์ 1:9 มีอะไรที่อัครทูตยอห์นบอกเราถึงสถาณการณ์ ความเป็นอยู่ของท่าน ขณะที่ท่านได้รับนิมิตเปิดเผยให้
ทราบถึงความเป็นไปของคริสตจักรต่างๆ


     เกาะปัทมอสเป็นเกาะแห้งแล้งกันดาร พื้นที่ของเกาะเต็มไปด้วยโขดหิน เป็นเกาะขนาดเล็กในทะเลอีเจียน เกาะนี้มีขนาดความยาว 16 กิโลเมตรและกว้าง 9.6 กิโลเมตร รัฐบาลโรมันใช้เกาะปัทมอสและ เกาะขนาดเล็กกว่าโดยรอบ เป็นสถานที่กักขังสำหรับนักโทษทางการเมือง นักเขียนคริสเตียนยุคแรกเริ่มหลายคนที่มีชีวิตอยู่ใกล้เคียงกับอัครทูตยอห์น กล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า ผู้มีสิทธิอำนาจของรัฐบาลโรมันได้เนรเทศอัครทูตยอห์นไปยังอยู่เกาะ

     ปัทมอส ด้วยเหตุผลว่าอัครทูตยอห์นเป็นผู้สัตย์ซื่อในการประกาศข่าวพระกิตติคุณ เป็นที่แน่นอนว่าอัครทูตยอห์นซึ่งชราภาพแล้ว ต้องมีชีวิตอยู่อย่างอดทนในความยากบากและความหิวในฐานะนักโทษ อัครทูตยอห์นอาจต้องได้รับการปฏิบัติอย่างอาชญากร ถูกล่ามโซ่ อาหารที่รับประทานอาจจะไม่พอเพียง และอาจถูกบังคับให้ทำงานหนัก และอยู่ใต้คำขู่เข็ญและแซ่หนังของทหารโรมันที่ไร้ความเมตตา
     “เกาะปัทมอส ที่เต็มไปด้วยโขดหิน และความกันดาร เกาะนี้อยู่ในทะเลอีเจียน ได้ถูกเลือกโดยรัฐบาลโรมันให้เป็นสถานที่กักขังอาชญากร แต่สำหรับอัครทูตยอห์นผู้รับใช้ของพระเจ้า สถานที่พำนักนี้ซึ่งทำให้ความรู้สึกมืดมนได้กลายเป็นประตูสวรรค์ สถานที่แห่งนี้เป็นที่ห่างไกลจากการใช้ชีวิตยุ่งอยู่กับพันธกิจการรับใช้ และการเดินทางตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา บัดนี้ในเกาะร้าง อัครทูตยอห์นมีพระเจ้าองค์พระบิดา และพระเยซูคริสต์ และเหล่าทูตสวรรค์อยู่ใกล้ชิด และข่าวสารจากพระเจ้า อัครทูตยอห์นได้รับคำสั่งให้ส่งต่อข่าวสารให้กับคริสตจักรต่างๆ สำหรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตทุกอย่าง”
(เอลเลน จี. ไว้ท์, กิจการของอัครทูต, หน้า 570, 571)
     

     มีบุคคลสำคัญในพระคัมภีร์ท่านใดบ้างที่ต้องใช้ชีวิตอย่างลำบากถูกดูหมิ่นดูแคลนเพราะความสัตย์ซื่อของพวกเขาที่มีต่อพระเจ้า (ดาเนียล3:16-23; กิจการฯ 7:54-60)
     เหล่าผู้ติดตามพระเจ้าขออย่าได้ลืมไม่ว่าพวกเขาจะพบตัวเองตกอยู่ในสถานการณ์ใดที่มีลักษณะคล้ายกับของอัครทูตยอห์นเขาหรือพวกเขาไม่ได้เผชิญปัญหาตามลำพังพระเยซูองค์เดียวผู้เสด็จลงมาพบท่านยอห์นด้วยถ้อยคำแห่งความหวัง และคำหนุนใจในขณะที่ท่านยอห์นกำลังเผชิญกับความยากลำบากบนเกาะปัทมอสพระองค์ยังคงเสด็จมาอยู่ใกล้กับประชากรของพระองค์เพื่อเกื้อกูล และให้การสนับสนุนพวกเขาขณะที่พวกเขากำแบกรับสถานการณ์ที่ยากลำบากเช่นกัน
    

     เราจะเข้าใจความแตกต่างระหว่างความทุกข์ยากเพื่อพระนามของพระเจ้าและความทุกข์ยากที่เกิดจากเหตุผลอื่นเช่นการเลือกผิดของเราได้อย่างไร(รวมถึงเหตุผลที่เราไม่เข้าใจในความตื้นลึกเพียงพอเช่นกรณีของโยบด้วย) และเราจะไว้วางใจพระเจ้ ในทุกสถานการณ์ได้อย่างไร

วันจันทร์

ในวันขององค์พระผู้เป็นเจ้า  On the Lord’s Day
          

      อ่านพระธรรมวิวรณ์ 1:10 ร่วมกันกับ อพยพ 31:13; อิสยาห์58:13มัทธิว 12:8  ตามข้อพระคัมภีร์เหล่านี้ วันใดในพระคัมภีร์ที่ระบุชัดเจนว่าเป็น “วันขององค์พระผู้เป็นเจ้า” วันดังกล่าวนี้มีความหมาย  อย่างไรสำหรับอัครทูตยอห์นในท่ามกลางความลำบากของท่าน“เป็นวันสะบาโตนั่นเองที่องค์พระผู้เป็นเจ้าแห่งสง่าราศีทรงปรากฏพระองค์ต่ออัครทูตผู้ถูกเนรเทศ อัครทูตยอห์นได้ถือรักษาวันสะบาโตไว้เป็นวันบริสุทธิ์ ขณะที่เป็นนักโทษในเกาะปัทมอส หรือแม้ก่อนหน้านั้นขณะที่ท่านเทศนาสั่งสอนผู้คนในหมู่บ้านเมืองเล็ก และเมืองใหญ่ในแคว้นยูเดีย อัครทูตยอห์นถือว่าเรื่องนี้เป็นพระสัญญาทรงคุณค่าที่พระเจ้าทรงประทานนิมิตในวันสะบาโต” (เอลเลน จี. ไว้ท์, กิจการของอัครทูต, หน้า 581)

      พระธรรมวิวรณ์ 1:10 บันทึกเป็นมั่นเหมาะว่าอัครทูตยอห์นได้รับ“นิมิต” (vision) ในวันที่เจ็ดซึ่งเป็นวันขององค์พระผู้เป็นเจ้า หรือวันสะบาโตแม้เราจะมองไปยังเหตุการณ์ในอนาคต จนถึงวันที่พระคริสต์จะเสด็จกลับมาครั้งที่สอง (เปรียบเทียบกับวิวรณ์ 1:7) ซึ่งเป็นที่รู้จักว่าเป็นวันของ “องค์พระผู้เป็นเจ้า” (อิสยาห์ 13:6-13; 2 เปโตร 3:10) ท่านยอห์นกำลังพูดเกี่ยวกับช่วงเวลา ซึ่งตัวท่านเอง ได้รับนิมิตของเหตุการณ์ในอนาคต และสิ่งนี้ได้เกิดขึ้นในวันสะบาโต “วันขององค์พระผู้เป็นเจ้า”

     ไม่มีคำถามเลยว่าท่ามกลางความทุกข์ยากลำบาก นิมิตที่อัครทูตยอห์นได้รับนี้ ได้เติมเต็มวันสะบาโตให้กลายเป็น “การชิมรสล่วงหน้าของชีวิต” (foretaste of life) ที่เป็นอิสระจากความทุกข์ยากใดๆ ซึ่งท่านยอห์นและเหล่าผู้เชื่อทั้งปวงทุกยุคได้รับเป็นประสบการณ์ หลังจากการเสด็จกลับมา    ครั้งที่สอง ที่จริงในความคิดของชาวยิวถือว่า “วันสะบาโตเป็นการชิมรสล่วงหน้าของ “โอลัม ฮาบา” (olam haba) “ของโลกที่จะมาถึง”“วันสะบาโต ซึ่งพระเจ้าได้ทรงสถาปนาไว้ตั้งแต่สมัยสวนเอเดน เป็นสิ่งมีค่าล้ำสำหรับอัครทูตยอห์นขณะที่ท่านถูกกักขังอยู่บนเกาะเล็กๆ แห่งนั้น
อย่างเปล่าเปลี่ยว...”
    

“วันสะบาโตเป็นอะไรสำหรับท่านผู้ถูกเนรเทศไปอยู่อย่างหงอยเหงาวันสะบาโตเป็นสิ่งที่มีค่าในสายพระเนตรของพระคริสต์เสมอ แต่บัดนี้ถูกยกขึ้นสูงกว่าที่เคยเป็นมา ไม่มีครั้งใดที่ท่านยอห์นได้เรียนรู้ในองค์พระเยซูมากเท่านี้ท่านไม่เคยได้ยินความจริงที่ถูกยกขึ้นสูงส่งเช่นนี้” (เอลเลน จี. ไว้ท์, TheSDA Bible Commentary, เล่ม 7, หน้า 955)

     เปรียบเทียบข้อพระคัมภีร์ที่ว่าด้วยพระบัญญัติข้อที่สี่ ของพระบัญญัติสิบประการ ในอพยพ 20:11 และในเฉลยธรรมบัญญัติ 5:15ข้อพระคัมภีร์เหล่านี้ชี้ไปยังวันที่เจ็ด วันสะบาโตเป็นวันระลึกถึงทั้งการทรงสร้าง และการปลดปล่อยให้รอดพ้น ซึ่งเตือนใจเราว่าพระเจ้าทรงสร้างเรา และทรงไถ่เราจากความบาปของเรา เราสามารถจะถือรักษาวันสะบาโตในแต่ละสะบาโตได้ดีขึ้นด้วยตัวเราเอง ทั้งเพื่อความเป็น
พระเจ้าเที่ยงแท้ในฐานะพระองค์ทรงเป็นพระผู้สร้าง และพระผู้ไถ่ของเราได้อย่างไร ใคร่ครวญเกี่ยวกับเรื่องนี้จะเป็นการดีสำหรับพระองค์ที่พระองค์จะเป็นพระผู้สร้างของเรา โดยปราศจาการเป็นพระผู้ไถ่ของเราเช่นกันไหม

วันอังคาร

นิมิตของยอห์นเกี่ยวกับพระคริสต์

John’s Vision of Christ on Patmo

     อ่านพระธรรมวิวรณ์ 1:12-18 เปรียบเทียบภาพของพระคริสต์ในฐานะที่ทรงเป็นพระเจ้ากับภาพพระคริสต์ปรากฏในนิมิตของท่านดาเนียล ในดาเนียล 10:5, 6 พระเยซูทรงปรากฏในนิมิตที่ประทานให้กับอัครทูตยอห์นอย่างไร พระองค์กำลังทรงทำอะไร

     ท่านยอห์นเห็นพระเยซูทรงฉลองพระองค์ด้วยชุดของมหาปุโรหิตกำลังทรงดำเนินท่ามกลางคันประทีป นิมิตสะท้อนให้เห็นพลับพลาของชนอิสราเอลสมัยโบราณ ซึ่งคันประทีปเป็นเครื่องให้แสงสว่าง (ดู 1 พงศ์กษัตริย์7:49)
     ภาพของพระเยซูกำลังดำเนินท่ามกลางคันประทีปชี้ไปยังพระสัญญาของพระเจ้าที่ทรงให้กับชนอิสราเอลสมัยก่อน ซึ่งพระองค์จะดำเนินท่ามกลางพวกเขาฐานะพระองค์ทรงเป็นพระเจ้าของพวกเขา (เลวีนิติ 26:12) ในพระธรรมวิวรณ์ คันประทีปเป็นตัวแทนของคริสตจักรทั้งเจ็ดในเอเซีย ซึ่งเป็นเป้าหมายดั้งเดิมที่ข่าวของพระธรรมวิวรณ์ส่งไปให้ (วิวรณ์ 1:20) และ (ดังเราจะได้ศึกษาในบทเรียนวันพุธ) คันประทีปยังเป็นสัญลักษณ์ของคริสตจักรของพระองค์ตลอดในประวัติศาสตร์ โดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ พระองค์ทรงดูแลเอาพระทัยใส่คริสตจักรของพระองค์บนโลก และพระองค์จะทรงสถิตอยู่กับประชากรของพระองค์อย่างต่อเนื่อง จนกว่าพระองค์จะเสด็จกลับมารับพวกเขาไปยังบ้านชั่วนิรันดร์

     ยิ่งกว่านั้น ภาพของพระเยซูในฐานะมหาปุโรหิตท่ามกลางคันประทีปถูกนำมาจากพิธีปฏิบัติของพระวิหารในกรุงเยรูซาเล็ม ภาระหน้าที่ของปุโรหิตในแต่ละวัน คือรักษาคันประทีปในห้องวิสุทธิสถานให้ลุกไหม้ส่องสว่างไสว เขาจะตกแต่งไส้ประทีป และเติมน้ำมันให้ประทีป หากไส้ประทีปสั้นหรือไม่ส่องสว่างเต็มที่ เขาต้องเปลี่ยนไส้ประทีป หากไฟที่ประทีบดวงใดดับ เขาต้องรีบจุดไฟให้กับประทีปดวงนั้นโดยทันที ในทำนองนี้ปุโรหิตจะคุ้นเคยกับสภาพของคันประทีปแต่ละอัน ในทำนองเดียวกันพระเยซูทรงทราบถึงความต้องการและสถานการณ์ของประชากรของพระองค์ และทรงทูลขอ (intercedes) เพื่อ
พวกเขาแต่ละบุคคลไป

     อ่านพระธรรมวิวรณ์ 2:2, 9, 13, 19; 3:1, 8, 15 คำกล่าวที่ว่า“ข้าพเจ้าทราบเกี่ยวกับพระเยซูทรงคุ้นเคยกับสถานการณ์ และความ
ต้องการของประชากรของพระเจ้า” คืออะไร

     พระเยซูทรงพิสูจน์เอกลักษณ์ของพระองค์ ตามพระนามของพระเจ้าที่พระองค์เป็น พระองค์ตรัสว่า “เราเป็นเบื้องต้น และเราเป็นเบื้องปลาย”(อิสยาห์ 44:6) และ “เราคือผู้นั้น เราเป็นเบื้องต้น และเราเป็นเบื้องปลาย”(อิสยาห์ 48:12) คำในภาษากรีกสำหรับ “เบื้องปลาย” คือ “eschatos” ซึ่งมาจากคำว่า “การศึกษาถึงเหตุการณ์สุดปลาย” คือ “eschatology” สิ่งนี้แสดงให้เห็นโฟกัสของการศึกษาถึงเหตุการณ์สุดท้ายคือเรื่องของพระเยซูคริสต์ผู้ทรงมีถ้อยคำสุดท้ายสำหรับเหตุการณ์สุดปลาย พระองค์ทรงเป็น “ผู้ที่ดำรงชีวิตอยู่ตลอดไปเป็นนิตย์ และเราถือลูกกุญแจทั้งหลายแห่งความตาย และแห่งแดนคนตาย” (วิวรณ์ 1:18) โดยการสิ้นพระชนม์ และการฟื้นพระชนม์พระเยซูทรงได้รับสิทธิอำนาจให้เป็นผู้เปิดประตูของความตาย” (โยบ 17:16;สดุดี 9:13) คนทั้งมวลที่ไว้วางใจในพระองค์จะฟื้นจากหลุมฝังศพสู่ชีวิตนิรันดร์(1 โครินธ์ 15:21-23) เหล่าผู้ติดตามที่สัตย์ซื่อไม่จำเป็นต้องหวาดกลัว เพราะแม้ในความตายพวกเขาอยู่ภายใต้การดูแลของพระองค์ และหากพระองค์ทรงดูแลผู้ที่ตายไปแล้ว พระองค์จะทรงใส่พระทัยมากเพียงใดกับผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่”(1 เธสะโลนิกา 4:16, 17)

พุธ   

ข่าวสารของพระคริสต์สำหรับเวลานั้นและเวลานี้

        Christ’s Messages for Then and Now


     อ่านพระธรรมวิวรณ์ 1:11, 19, 20 พระเยซูทรงมอบให้อัครทูตยอห์นส่งข่าวสารลักษณะเฉพาะถึงแต่ละคริสตจักรของคริสตจักรทั้งเจ็ดในเอเซีย ข้อเท็จจริงมีว่ามีมากกว่าคริสตจักรในเขตพื้นที่ สิ่งนี้บอกเราให้ทราบเกี่ยวกับ “ความสำคัญของสัญลักษณ์” ของข่าวสารเหล่านี้ เป็นข่าวสารสำหรับคริสเตียนทั้งมวลโดยองค์รวม

     ข่าวสารที่พระเยซูมอบหมายให้อัครทูตยอห์นให้ส่งไปยังคริสตจักรทั้งเจ็ด ถูกบันทึกไว้ในพระธรรมวิวรณ์ บทที่ 2 และ 3 ความหมายของข่าวสารสำหรับแต่ละคริสตจักรนำไปใช้ปฏิบัติได้สามระดับ:

     การประยุกต์ใช้ตามประวัติศาสตร์ ข่าวสารเหล่านี้ดั้งเดิมส่งให้กับเจ็ดคริสตจักร ซึ่งตั้งอยู่ในศตวรรษที่หนึ่งในเอเชีย คริสเตียนเหล่านั้นเผชิญกับปัญหาท้าทายร้ายแรง หลายเมืองได้ตั้งแท่นเคารพบูชาขึ้นในวิหารของพวกเขา เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีต่อโรม “การนมัสการจักรพรรดิ”ได้กลายเป็นข้อบังคับให้ประชากรได้รับการคาดหวังให้มีส่วนร่วมในการบูชาจักรพรรดิ และในพิธีการถวายบูชาศาสนาของเหล่าผู้อยู่นอกศาสนา (paganreligious ceremonies) เพราะคริสเตียนจำนวนมากปฏิเสธที่จะมีส่วนในแนวปฏิบัติเหล่านี้ พวกเขาต้องเผชิญกับการทดสอบ บางครั้งถึงจุดต้องยอมตาย(martyrdom) เพื่อศาสนา พระคริสต์ทรงบัญชาให้อัครทูตยอห์นเขียนเจ็ดข่าวสารเพื่อช่วยผู้เชื่อเหล่านั้นที่กำลังเผชิญกับการท้าทายเหล่านี้


     การประยุกต์ใช้ตามคำพยากรณ์ ข้อเท็จจริงที่พระธรรมวิวรณ์ เป็นหนังสือแห่งคำพยากรณ์ แต่มีเพียงเจ็ดคริสตจักรที่ถูกเลือกให้รับข่าวสารเหล่านี้ ซึ่งแต่ละข่าวสารชี้ให้เห็นลักษณะของข่าวสารเพื่อให้คำแนะนำต่อปัญหา และการแก้ไขสภาพด้านวิญญาณจิตในแต่ละคริสตจักร ซึ่งจะมีลักษณะปัญหา และสภาพด้านวิญญาณเกิดขึ้นซ้ำรอยกัน (coinside) กับสภาพด้านจิตวิญญาณของคริสตจักรของพระเจ้าในประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกัน ข่าวสารทั้งเจ็ดมีเจตนาจัดหา การมองเห็นในทัศนะของสวรรค์ เป็นการสำรวจภาพกว้างๆ ในสภาพด้านวิญญาณจิตของคริสเตียนจากศตวรรษแรกจนถึงวาระ
สุดท้ายของโลก

     การประยุกต์ใช้โดยทั่วไป เหมือนกับที่พระธรรมวิวรณ์ทั้งเล่มถูกส่งออกไปดุจเป็นจดหมายฉบับเดียวเพื่อให้ถูกอ่านโดยทุกคริสตจักร (วิวรณ์ 1:11;วิวรณ์ 22:16) จะเห็นว่าข่าวสารทั้งเจ็ดบรรจุบทเรียนที่สามารถประยุกต์ใช้ได้โดยคริสเตียนทุกยุคสมัย ในทำนองเดียวกัน ข่าวสารดังกล่าวเป็นตัวแทนคริสเตียนที่มีรูปแบบแตกต่างกันในเรื่องสถานที่และเวลา ยกตัวอย่างเช่นขณะลักษณะอุปนิสัยโดยทั่วไปของคริสเตียนยุคปัจจุบันคือ คริสตจักรเลาดีเซีย(Laodicean) คริสเตียนบางคนอาจมีเอกลักษณ์ หรือลักษณะอุปนิสัยของคริสตจักรใดคริสตจักรหนึ่งในเจ็ดคริสตจักร ข่าวดีก็คือไม่ว่าเราแต่ละคนจะมี
สภาพด้านจิตวิญญาณเป็นเช่นใด พระเจ้าทรงสามารถ “พบกับมนุษย์ผู้ล้มลงในความบาปไม่ว่าเขาจะอยู่ในสถานะใดก็ตาม” (เอลเลน จี. ไว้ท์, SelectedMessage, เล่ม 1, หน้า 22)

     จินตนาการว่า ถ้าองค์พระผู้เป็นเจ้าจะต้องเขียนจดหมายในรูปแบบการเขียนถึงคริสตจักรทั้งเจ็ด เพื่อส่งให้คริสตจักร (โบสถ์) ท้องถิ่นของคุณ เกี่ยวกับการท้าทายที่คริสตจักรกำลังเผชิญอยู่ หรือสภาพทางวิญญาณจิตของคริสตจักร... จดหมายฉบับนั้นจะพูดถึงสิ่งใดบ้าง

 

วันพฤหัสบดี

ข่าวสารถึงคริสตจักรในเอเฟซัส 

Message to the Church in Ephesus


     เอเฟซัสเป็นเมืองหลวง และเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในอาณาจักรโรมันเมืองนี้ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าหลักหลายสาย เป็นเมืองท่าสำคัญสุดในเอเซียเป็นศูนย์สำคัญทางด้านการค้าและด้านศาสนา เมืองนี้เต็มไปด้วยอาคารสาธารณะอย่างเช่น วิหาร โรงมหรสพ โรงเล่นกีฬาในร่ม โรงอาบน้ำ และโรงโสเภณี เป็นที่ขึ้นชื่อในทางไม่ดีในการทำผิดศีลธรรม และการเชื่อถือไสยศาสตร์และการเชื่อถือโชคลาง กระนั้นเมืองเอเฟซัสถือว่าเป็นเมืองที่คริสตจักรมีอิทธิพลมากที่สุด

     อ่านพระธรรมวิวรณ์ 2:1-4 พระเยซูทรงเสนอพระองค์เองต่อคริสตจักรแห่งนี้อย่างไร พระองค์กล่าวชมคุณสมบัติยิ่งใหญ่อะไรบ้างของคริสตจักรนี้ พระเยซูทรงกล่าวแสดงความห่วงใยอะไรต่อคริสตจักรนี้ในช่วงต้น ชาวเอเฟซัสเป็นที่รู้จักสำหรับความสัตย์ซื่อ และความรักของพวกเขา (เอเฟซัส 1:15) แม้ว่าเหล่าผู้เชื่อจะได้รับความกดดันจากภายใน และภายนอกคริสตจักร คริสเตียนทั้งหลายในคริสตจักรยังคงมั่นคงและสัตย์ซื่อ พวกเขาเป็นพวกทำงานหนัก และตั้งใจรักษาความสัตย์ซื่อไว้จนถึงที่สุด ตามจริงแล้วพวกเขาไม่อาจอดกลั้นอดทนต่ออัครทูตเทียมเท็จท่ามกลางพวกเขา อย่างไรก็ดี เพราะความรักของพวกเขาที่มีในพระคริสต์ และต่อพี่น้องแห่งความเชื่อ แต่เมื่อเวลาผ่านไป คุณสมบัติเหล่านั้นได้เริ่มเสื่อมถอยลงเพราะแม้ผู้เชื่อส่วนใหญ่จะดูเข้มแข็ง และสัตย์ซื่อ แต่ในส่วนลึกของดวงจิตความเชื่อเริ่มเยือกเย็นลง และการถือปฏิบัติผิดเพี้ยนไป ปราศจากความรักแท้ในพระคริสต์ แม้แต่ดวงประทีปของพวกเขาเองก็กำลังตกอยู่ในจุดอันตรายเพราะมันกำลังจะดับแสงลง

     อ่านพระธรรมวิวรณ์ 2:5-7 มีอะไรสามสิ่งที่พระเยซูทรงเร้าใจให้ คริสตจักรนำไปปฏิบัติ เพื่อที่จะฟื้นฟูความรักแรกของพวกเขา ด้วยการอุทิศถวายชีวิตแด่พระคริสต์ และรักพี่น้องแห่งความเชื่อด้วยความจริงใจ ข้อปฏิบัติสามประการนี้มีความเกี่ยวพันต่อเนื่องกันอย่างไรเกี่ยวกับการพยากรณ์ สถานการณ์ในคริสตจักรเอเฟซัส สอดคล้องกับสถานการณ์ทั่วไป และสภาพด้านจิตวิญญาณของคริสตจักร ในศตวรรษแรก จากปี ค.ศ. 31-100 ลักษณะอุปนิสัยของคริสตจักรยุคอัครทูตเต็มไปด้วยความรัก และความสัตย์ซื่อต่อพระกิตติคุณ แต่เวลาผ่านไปถึงช่วงสิ้นสุดศตวรรษ คริสตจักรเริ่มสูญเสียไฟแห่งความรักแรก พวกเขาเริ่มผละห่างจากความเรียบง่าย และความบริสุทธิ์ของพระกิตติคุณจินตนาการตัวคุณเอง เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มนมัสการ ขณะที่ความรักเริ่มเจือจางลง สมาชิกโบสถ์อาจไม่กระทำความบาปอันเป็นที่
รู้จักหรืออย่างเปิดเผย ในระดับหนึ่ง พวกเขาแม้แต่กำลังทำสิ่งที่ถูกต้องกระนั้นพวกเขาต้องอดทนกับการปฏิบัติตามรูปแบบพิธี และความเย็นชา พระเยซูทรงให้คำปรึกษาตรงนี้อย่างไร เพื่อจะช่วยให้คริสตจักรเป็นอิสระจากสถานการณ์นี้


วันศุกร์ ศึกษาเพิ่มเติม:

 

     อ่านงานเขียนของ เอลเลน จี. ไว้ท์, กิจการของอัครทูต ในบท “เกาะปัทมอส”, หน้า 568-577


     “การที่อัครทูตยอห์นได้รับการข่มเหง (persecution) ได้กลายเป็นความหมายของ “พระคุณ” เกาะปัทมอส ได้ถูกทำให้โชติช่วงขึ้นด้วยพระสิริของพระผู้ช่วยให้รอดผู้ฟื้นคืนพระชนม์ อัครทูตยอห์นเคยเห็นพระคริสต์ในรูปกายของมนุษย์ พร้อมกับรอยตะปูที่ฝ่าพระหัตถ์และพระบาท ตอนนี้อัครทูตยอห์นได้รับอนุญาตอีกครั้งที่จะมองดูพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงฟื้นพระชนม์ สวมใส่ด้วยเสื้อผ้าแห่งสง่าราศีอย่างยิ่ง เท่าที่สายตาของมนุษย์คนหนึ่งจะมองเห็นได้และมีชีวิตอยู่

     “การปรากฏกายของพระคริสต์ต่อสายตาของอัครทูตยอห์น ควรจะเป็นการปรากฏแก่ผู้เชื่อทั้งมวลและผู้ไม่เชื่อทั้งหลาย เพื่อเป็นพยานว่าเราเชื่อในพระคริสต์ผู้ทรงฟื้นพระชนม์ สิ่งนี้ควรได้ให้อำนาจอันทรงพลังแก่คริสตจักรในบางครั้งเมฆหมอกอันดำมืดได้แผ่รอบๆ ประชากรของพระเจ้า ดูประหนึ่งเครื่องหมายแห่งความกดดันและการกดขี่ข่มเหง จนทำให้ความเชื่อถดถอยไปแต่ในเวลาเช่นนั้น พระเจ้าทรงประทานบทเรียนแห่งคำสอนอันมีค่าที่สุดพระคริสต์เสด็จเข้าไปในเรือนจำบ่อยๆ และทรงเปิดเผยพระองค์เองแก่เหล่าผู้ที่ได้รับการเลือกสรรไว้ พระองค์ทรงสถิตอยู่กับบุคคลผู้ถูกเผาทั้งเป็น และในคืนที่มืดมิดดวงดาวบนท้องฟ้าส่องประกายสุกใสที่สุด เช่นเดียวกัน ลำแสงอันสว่างสดแห่งสง่าราศีของพระเจ้า เปิดเผยให้เราเห็นในช่วงมืดมน ท้องฟ้ามืดครึ้มกว่า จะกระจ่างสดใสกว่า และน่าประทับใจยิ่งคือลำแสงดวงอาทิตย์แห่งความชอบธรรมของพระผู้ช่วยให้รอดผู้ทรงเป็นขึ้นจากความตาย” (เอลเลนจี. ไว้ท์, The Youth Instructor, 5 เมษายน 1900)

คำถามเพื่อการอภิปราย:


1. จากสิ่งที่อัครทูตยอห์นได้ยินบนเกาะปัทมอสในพระธรรมวิวรณ์1:12-20 คุณได้เห็นอะไร และได้รับคำปลอบประโลมจาก
ข้อความที่เปิดเผยไว้ตรงนี้หรือไม่ อย่างไร

2. ทูตสวรรค์องค์แรกในพระธรรมวิวรณ์ 14:7 หนุนใจประชากรผู้อาศัยบนแผ่นดินโลก ให้ตระหนักถึงช่วงเวลาสุดท้าย “จง
นมัสการพระองค์ผู้ทรงฟ้าสวรรค์ แผ่นดินโลก ท้องทะเล และบ่อน้ำพุทั้งหลาย” (วิวรณ์ 14:7) ข้อความนี้นำมาจาก พระธรรม
อพยพ 20:11 ข่าวของทูตสวรรค์องค์แรกบอกให้เราเห็นความสำคัญของวันสะบาโตในวาระสุดท้ายอย่างไร


3. มีการเย้ยหยันที่คริสเตียนทั้งหลายต้องเผชิญ ยิ่งพวกเขาอยู่ในคริสตจักร (โบสถ์) นานเท่าไร ก็จะเป็นการง่ายที่ความเชื่อของ
พวกเขาจะสลัวหรือดับไป เมื่อเป็นเช่นนี้เราจะรักษาแสงแห่งความเชื่อของเราให้คงอยู่และสว่างไสวมากยิ่งขึ้นได้อย่างไร

                                              <previous Lesson               God Back Index         Next Lesson >

 

Related Information