Thai SDA Church

Smile to the World and the World will smile back at you.

Chapter 1: พระกิตติคุณจากเกาะปัทมอส

บทที่ 1
พระกิตติคุณจากเกาะปัทมอส
The Gospel From Patmos
วันที่ 29 ธันวาคม - 4 มกราคม 2019

 

บ่ายวันสะบาโต

อ่านข้อพระคัมภีร์สำหรับบทเรียนสัปดาห์นี้

 

วิวรณ์ 1:1-8; ยอห์น 14:1-3; เฉลยธรรมบัญญัติ 29:29; ยอห์น 14:29; โรม 1:7; ฟีลิปปี 3:20; ดาเนียล 7:13, 14

 

ข้อควรจำ

“ความสุขมีแก่ผู้ที่อ่าน และบรรดาผู้ที่ฟังคำเผยพระ-วจนะ แล้วประพฤติตามสิ่งต่างๆ ที่เขียนไว้นั้น เพราะ
ว่าเวลานั้นใกล้เข้ามาแล้ว” (วิวรณ์ 1:3)

 

         คำพยากรณ์แห่งพระธรรมวิวรณ์ ถูกเผยในนิมิตที่พระเจ้าทรงประทานให้กับอัครทูตยอห์นขณะท่านถูกเนรเทศไปอยู่บนเกาะ
ขนาดเล็กที่เต็มไปด้วยก้อนหิน เกาะชื่อ “ปัทมอส” (วิวรณ์ 1:9) พระธรรมวิวรณ์ 1:3 ประกาศว่า พระธรรมเล่มนี้ควรถูกอ่านด้วยเสียงอันดังในคริสตจักร

ข้อพระคัมภีร์ข้อนี้กล่าวสัญญาด้วยว่า พระเจ้าจะทรงประทานพระพรให้แก่ผู้ที่อ่านและผู้ที่ฟัง และผู้ที่เชื่อฟังคำสอนในพระธรรมเล่มนี้ (เปรียบเทียบกับลูกา
6:47, 48
) พระคัมภีร์ข้อนี้อ้างถึงกลุ่มนมัสการที่ประชุมกันในคริสตจักรเพื่อฟังข่าวสาร อย่างไรก็ดีพวกเขาได้รับพระพรไม่ใช่เพราะพวกเขาอ่านหรือรับฟัง
อย่างเดียว แต่เป็นเพราะพวกเขาเชื่อ และปฏิบัติตามถ้อยคำในพระธรรมเล่มนี้ (ดูวิวรณ์ 22:7)

         คำพยากรณ์แห่งพระธรรมวิวรณ์แสดงให้เห็นถึงการเอาพระทัยใส่ของพระเจ้าต่อประชากรของพระองค์ซึ่งชี้ให้เราเห็นว่าชีวิตของเราในโลกนี้

สั้นและเปราะบาง เมื่อเทียบกับชีวิตชั่วนิรันดร์ในองค์พระเยซู และอีกประการหนึ่ง พระเจ้าทรงเรียกเราให้มีส่วนในการเผยแผ่พระกิตติคุณแห่งความรอด
ของพระองค์
        อัครทูตเปโตรได้กล่าวเปรียบเทียบไว้ว่า “เพราะคำนั้น (คำพยากรณ์ในพระคัมภีร์) เป็นเสมือนตะเกียงที่ส่องสว่างในที่มืด จนกว่าแสงอรุณจะขึ้น
และดาวรุ่งจะผุดขึ้นในใจของพวกท่าน” (2 เปโตร 1:19) พระเจ้าทรงตั้งพระทัยจัดคำพยากรณ์ให้เป็นเครื่องนำทางชีวิตของเราในวันนี้ และให้มีความหวัง
สำหรับอนาคต เพราะเราต้องการแสงสว่างนำทางจากคำพยากรณ์นี้ไปจนกว่าพระเยซูจะทรงเสด็จกลับมาครั้งที่สอง และพระเจ้าจะทรงสถาปนาอาณาจักร
ชั่วนิรันดร์ของพระองค์ขึ้น

วันอาทิตย์

ชื่อของพระธรรม  The Title of the Book

 

        อ่านพระธรรมวิวรณ์ 1:1, 2 ชื่อเต็มของพระธรรมเล่มนี้มีความสำคัญอะไรบ้าง ชื่อของพระธรรมเล่มนี้สอนเราเกี่ยวกับใคร ซึ่งเนื้อหา
ของพระธรรมเล่มนี้อ้างถึงวิวรณ์ 1:1 กล่าวเปิดฉากว่า “วิวรณ์ของพระเยซูคริสต์” คำว่า “วิวรณ์”(revelation) มาจากภาษากรีกคือ “apokalupsis” (apocalypse) ซึ่งหมายถึง “เปิดเผย”, “เปิดออก” หรือ “เปิดผ้าคลุมออก” ดังนั้น “วิวรณ์ของพระ-เยซูคริสต์” จึงหมายถึงการเปิดเผยเรื่องของพระเยซูคริสต์ ซึ่งเป็นการเปิดเผยโดยพระองค์เองหรือเกี่ยวกับพระองค์ ซึ่งเป็นมาจากพระเจ้าผ่านพระเยซูคริสต์ (ดู วิวรณ์ 22:16) จะว่าไปเนื้อของพระธรรมเล่มนี้เป็นพยานกล่าวถึงพระเยซู นอกจากนี้พระธรรมวิวรณ์ยังเผยตัวเองให้เห็นความเป็นไปของประชากรของพระเจ้า และแสดงให้เห็น “การดูแลเอาพระทัยใส่ของพระเจ้า”ต่อประชากรของพระองค์
     กล่าวได้ว่าพระเยซูทรงเป็นรูปทรง (fi gure) ของพระธรรมวิวรณ์ กล่าวคือพระธรรมเล่มนี้เริ่มต้นด้วยพระองค์ (วิวรณ์ 1:5-8) และสิ้นสุดด้วยพระองค์
(วิวรณ์ 22:12-16) “ให้พระธรรมดาเนียลเฉลย ให้พระธรรมวิวรณ์เฉลย และ

      กล่าวว่าอะไรคือความจริง แต่ไม่ว่าจะนำเสนอด้วยวลีใด ก็จะเชิดชูพระเยซูขึ้ เป็นประดุจศูนย์กลางของความหวังทั้งมวล “เป็นรากและเป็นเชื้อสายของ
ดาวิด เป็นความสว่างและดาวประจำรุ่ง” (เอลเลน จี. ไว้ท์, Testimonies toMinister and Gospel Workers, หน้า 118)
เช่นกันพระเยซูในพระธรรมวิวรณ์เป็นพระเยซูในพระกิตติคุณทั้งสี่พระธรรมวิวรณ์กล่าวพรรณนาถึงพระเยซูต่อในงานแห่งความรอดในนามแห่งประชากรของพระองค์ตามที่กล่าวพรรณนาในพระกิตติคุณ พระธรรมวิวรณ์
       โฟกัสในลักษณะแตกต่างไปในรูปการดำรงอยู่ และพันธกิจของพระองค์ ซึ่งขาดเสียมิได้ในจุดที่พระกิตติคุณสิ้นสุดลง ด้วยการสิ้นพระชนม์ การฟื้นพระชนม์ และการเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ของพระองค์จดหมายฝากถึงชาวฮีบรู (พระธรรมฮีบรู) และพระธรรมวิวรณ์ต่างเน้นในพันธกิจของพระเยซูในสวรรค์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ภายหลังที่พระเยซูเสด็จขึ้นไปยังสวรรค์ ทรงได้เริ่มงานอย่างเป็นทางการในฐานะเป็นมหาปุโรหิตหลวงในพลับพลาบนสวรรค์ ถ้าปราศจากพระธรรมวิวรณ์ (หรือพระธรรมฮีบรู)ความรู้เรื่องพันธกิจของพระคริสต์ในฐานะมหาปุโรหิตบนสวรรค์เพื่อทำการแทนประชากรของพระองค์จะเป็นเรื่องที่จำกัดมาก และกระนั้นนอกจากพระ-ธรรมฮีบรู พระธรรมวิวรณ์ยังจัดให้เรามองเห็นพันธกิจของพระเยซูคริสต์ ซึ่งทรงทำแทนพวกเราในสวรรค์อย่างชัดเจนเป็นพิเศษ

     อ่านพระธรรมยอห์น 14:1-3 พระสัญญาอันกว้างใหญ่ตรงนี้ ช่วยเราให้เข้าใจสิ่งที่พระเยซูกำลังทรงดำเนินการเพื่อเราเดี๋ยวนี้ในสวรรค์
เราจะได้รับความหวังอะไรจากพระสัญญาอัศจรรย์นี้

วันจันทร์

     วัตถุประสงค์ของพระธรรมเล่มนี้   The Purpose of the Book
           พระธรรมวิวรณ์ 1:1 บอกเราด้วยว่า วัตถุประสงค์ของพระธรรมเล่มนี้เพื่อแสดงเหตุการณ์ที่จะเกิดในอนาคต เริ่มต้นจากช่วงเวลาที่พระธรรมเล่มนี้
ถูกเขียนขึ้น ผู้ใดที่คุ้นเคยกับพระธรรมวิวรณ์จะสังเกตเห็นว่าคำทำนายของเหตุการณ์ต่างๆ มีหลายสิ่งได้เกิดขึ้นแล้ว และมีอีกหลายสิ่งที่จะเกิดขึ้นใน

          อนาคต (จากมุมมองเห็นของเราในปัจจุบัน) คำพยากรณ์ทั้งสองส่วนนี้ครอบคลุมเนื้อหาของพระธรรมเล่มนี้เป็นส่วนใหญ่
วัตถุประสงค์เบื้องต้นของคำพยากรณ์ในพระคัมภีร์มีเป้าหมายให้เราเกิดความมั่นใจว่า ไม่ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นในอนาคต พระเจ้าทรงเป็นผู้ควบคุม
พระธรรมวิวรณ์ทำหน้าที่นี้โดยตรง: พระเยซูคริสต์ทรงอยู่กับประชากรของพระองค์ตลอดประวัติศาสตร์ของโลก และทำหน้าที่ปลุกให้ตื่นตัวสำหรับ
เหตุการณ์ในวาระสุดท้าย
           ผลที่สุดคือ คำพยากรณ์ในพระธรรมวิวรณ์มีวัตถุประสงค์ให้นำไปปฏิบัติสองประการ: เพื่อจะสอนเรา ให้ดำเนินชีวิตอย่างไรในปัจจุบัน และเพื่อ
เตรียมเราไว้สำหรับอนาคต
          จากเฉลยธรรมบัญญัติ 29:29 เพราะเหตุใดจึงมีสิ่งลี้ลับต่างๆที่ไม่เปิดเผยให้เราทราบ อะไรคือจุดประสงค์ของการเปิดเผย และตาม
วิวรณ์ 22:7 เพราะเหตุใดจึงเปิดเผยให้เราทราบ
          คำพยากรณ์เกี่ยวกับวาระสุดท้ายไม่ได้เปิดเผยให้เราทราบ เพื่อสนองต่อความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับอนาคตของเรา พระธรรมเล่มนี้เปิดเผยให้
แก่ผู้ที่ต้องการรู้อนาคต คำพยากรณ์เหล่านั้นถูกเปิดออกเพื่อให้เรารู้ถึงในความร้ายแรงของสิ่งที่จะเกิดขึ้น เพื่อเราจะตระหนักว่า เราจะต้องพึ่งพิง
พระเจ้าด้วยการเชื่อฟังพระองค์
          เป็นเวลาหลายศตวรรษที่ “การดาดการณ์ ทำให้เกิดความตื่นตัว ซึ่งมาพร้อมกับคำสอนเรื่องเหตุการณ์วาระสุดท้าย” น่าเสียดายที่สิ่งเหล่านี้
กระทำโดยผู้ทำนายจากสิ่งที่เกิดขึ้นสดๆ ร้อนๆ ซึ่งทำให้ผู้คนตกใจกลัว และบริจาคเงินช่วยงานของพวกเขา เพราะว่าวาระสุดท้ายอยู่ใกล้แค่เอื้อม อย่างไร
ก็ตามวาระสุดท้ายยังไม่มาถึง ผู้คนจึงขจัดความเข้าใจผิดออกไป และรู้สึกท้อถอย เช่นเดียวกับสิ่งดีใดๆ ที่พระเจ้าได้ประทานให้เรา คำพยากรณ์ก็
เช่นกันสามารถถนำไปสู่การใช้ผิด และตีความหมายผิดได้เช่นกัน


          จากพระธรรมยอห์น 14:29 อะไรคือจุดประสงค์ของคำพยา-กรณ์

วันอังคาร      ภาษาเชิงสัญลักษณ์ของพระธรรมวิวรณ์

                           The Symbolic Language of Revelation

          อ่านพระธรรมวิวรณ์ 13:1; ดาเนียล 7:1-3 และ เอเสเคียล 1:1-14 สิ่งที่นิมิตเหล่านี้มีเหมือนกัน คืออะไรพระธรรมวิวรณ์ 1:1 กล่าวเพิ่มเติมว่า: “และพระองค์ทรงใช้ทูตสวรรค์ไปแจ้งกับยอห์นผู้รับใช้ของพระองค์” และเราพบถ้อยคำที่สำคัญมากในพระธรรมเล่มนี้ เป็นความหมายถอดจากภาษากรีกคือ “เซไมโน” (semaino)ซึ่งหมายถึง “ที่จะแสดงให้เห็นโดยเครื่องหมายสัญลักษณ์” ถ้อยคำนี้ถูกใช้ในภาษากรีกในพระคัมภีร์ที่แปลจากพระคัมภีร์เดิม (เซปตัวจินต์) ซึ่งท่านดาเนียลอธิบายให้กษัตริย์ “เนบูคัดเนสซาร์” ว่าปฏิมากรนั้นประกอบด้วยทองคำ เงินทองเหลือง และเหล็ก ซึ่งหมายถึงกษัตริย์ แสดงให้เห็น “สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต” (ดาเนียล 2:45) ด้วยการใช้ถ้อยคำเดียวกัน อัครทูตยอห์นบอกเราว่า “ฉาก” และ “เหตุการณ์” ของพระธรรมวิวรณ์ ซึ่งแสดงแก่อัครทูตยอห์นในนิมิตเป็นเชิงสัญลักษณ์ โดยการทรงนำของพระวิญญาณบริสุทธิ์ อัครทูตยอห์นได้บันทึกสัญลักษณ์ที่พระเจ้าแสดงให้เห็นเหล่านี้ เหมือนที่ท่านได้เห็น
ในนิมิต (วิวรณ์ 1:2)

          ดังนั้นภาษาซึ่งคำพยากรณ์ในพระธรรมวิวรณ์กล่าวไว้ โดยส่วนมากแล้วจะต้องไม่ตีความหมายตรงๆ ตามตัวอักษร โดยมีกฎว่า การอ่านพระคัมภีร์
โดยทั่วไปให้คาดคะเนล่วงหน้า ให้เข้าใจตามภาษาที่แสดงให้ทราบ (ยกเว้นข้อพระคัมภีร์ชี้เจตนาว่าเป็นสัญลักษณ์) แต่เมื่อเราอ่านพระธรรมวิวรณ์ เว้นแต่
ข้อพระคัมภีร์ชี้ว่า ความหมายเป็นไปตามตัวอักษร นอกนั้นเราจะต้องตีความหมายในเชิงสัญลักษณ์ ขณะที่ฉากและเหตุการณ์ต่างๆ เป็นจริงตามที่เห็น
นอกนั้นโดยทั่วไปถ้อยคำจะแสดงออกเป็นภาษาเชิงสัญลักษณ์

          ให้จำไว้ว่า สัญลักษณ์ส่วนใหญ่ในพระธรรมวิวรณ์ จะช่วยเราให้ปลอดภัยจากการบิดเบือนคำพยากรณ์ ในความพยายามจะตัดสินความหมายเชิง
สัญลักษณ์ในพระคัมภีร์ เราต้องระมัดระวังไม่ “กำหนด” ความหมายตามจินตนาการของมนุษย์ หรือความหมายที่เป็นไปตามกระแสของการตีความ

          ในเชิงสัญลักษณ์ แต่ให้เรากลับไปที่พระคัมภีร์ และสัญลักษณ์ต่างๆ ที่พบในหน้าของพระคัมภีร์ เพื่อที่จะเข้าใจสัญลักษณ์ในพระธรรมวิวรณ์ได้ถูกต้อง
ที่จริงแล้วในความพยายามที่จะไขความหมายเชิงสัญลักษณ์ของพระธรรมวิวรณ์ เราจะต้องจำไว้ก่อนว่า ความหมายส่วนมากนำมาจากพระ-
คัมภีร์เดิม โดยการเขียนภาพของอนาคตในภาษาของอดีต พระเจ้าทรงประสงค์ที่จะสร้างความประทับใจกับดวงจิตของเรา ว่าช่วยให้รอดในอดีตที่พระองค์
ทรงได้ทำเพื่อประชากรของพระองค์ พระองค์จะทรงทำเพื่อพวกเขาอีกครั้งในอนาคต ในความพยายามที่จะถอดรหัสสัญลักษณ์ และรูปแบบในพระธรรม
วิวรณ์ เราจะต้องเริ่มต้นด้วยการให้ความสนใจในพระคัมภีร์เดิม

พุธ ธรรมชาติของพระเจ้า

       The Godhead

           พระธรรมวิวรณ์เริ่มต้นด้วยการทักทายคล้ายกับที่พบในจดหมายฝากของอัครทูตเปาโล พระธรรมวิวรณ์มองได้ว่าเป็นลักษณะจดหมายฝากที่ส่งไป
ยังคริสตจักรทั้งเจ็ดในเอเชียน้อย (Asia Minor) ในสมัยของอัครทูตยอห์น(ดู วิวรณ์ 1:11) อย่างไรก็ดี พระธรรมวิวรณ์ไม่ได้ถูกเขียนขึ้นเฉพาะคริสตจักร
ทั้งเจ็ดเท่านั้น แต่สำหรับคนทุกยุคทุกสมัย
          อ่านพระธรรมวิวรณ์ 1:4, 5 และ โรม 1:7 มีคำทักทายอะไรที่ เหมือนกันในพระธรรมทั้งสองเล่มและการทักทายนั้นมาจากใคร

           ข้อพระคัมภีร์ทั้งสองเสนอสำนวนโวหารในการทักทาย เหมือนกันคือ“ขอพระคุณ และสันติสุขซึ่งมาจากพระเจ้าพระบิดาของเราทั้งหลาย และจาก
พระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้า จงดำรงอยู่กับท่านทั้งหลายเถิด” (โรม 1:7)ถ้อยคำนี้ประกอบไปด้วย “คำทักทายของชาวกรีก” ว่า (charis) คือพระคุณ
และการทักทายในรูปแบบของชาวฮีบรูคือคำว่า “ชาโลม” (shalom) ซึ่งหมายถึง “สันติสุข” (หรือ “เป็นสุขสบายดี”) ดังที่เราได้เห็นในข้อพระคัมภีร์
เหล่านี้ ผู้ที่ประทาน “พระคุณ” และ “สันติสุข” คือบุคคลทั้งสามในตรีเอกานุภาพคือพระเจ้าทั้งสามพระภาคนั่นเอง

         พระเจ้าองค์พระบิดา เป็นที่รับทราบว่า ทรงเป็นพระองค์นั้น (One)“พระเจ้าผู้ทรงเป็นอยู่ ผู้ทรงเคยเป็นอยู่ ผู้ที่จะเสด็จมา” (วิวรณ์ 1:8; วิวรณ์
4:8)
นี่อ้างถึงพระนามของ “พระยาห์เวห์”, ผู้ตรัสว่า “เราเป็น ผู้ซึ่งเราเป็น”(อพยพ 3:14) ข้อพระคัมภีร์นี้ อ้างถึงพระเจ้า องค์พระบิดาผู้ทรงพระชนม์
นิรันดร์
          พระวิญญาณบริสุทธิ์ถูกอ้างถึงดุจ “วิญญาณทั้งเจ็ดของพระเจ้า”(เปรียบเทียบกับ วิวรณ์ 4:5 และ วิวรณ์ 5:6) เลขเจ็ดเป็นตัวเลขที่เต็มสมบูรณ์
“วิญญาณทั้งเจ็ด” หมายถึง พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงทำการอย่างแข็งขันในคริสตจักรทั้งเจ็ด ลักษณะนี้อ้างถึงการทรง “สถิตอยู่ทุกแห่งในเวลาเดียว
กัน” (omnipresent) พระวิญญาณบริสุทธิ์ ทรงทำการอย่างไม่หยุดยั้งท่ามกลางประชากรของพระเจ้าตลอดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้พระองค์สามารถ
บรรลุเป้าหมายที่ทรงถูกเรียกให้ดำเนินการ
          พระเยซูคริสต์ทรงเป็นที่รับรู้ในเอกลักษณ์โดยชื่อทั้งสาม: “พระเยซูคริสต์ เป็นพยานผู้ซื่อสัตย์ ซึ่งเป็นผู้แรกที่ทรงเป็นขึ้นจากตาย และเป็นผู้ครอบ
ครองเหนือบรรดากษัตริย์ในโลก” (วิวรณ์ 1:5) เหล่านี้อ้างถึงการสิ้นพระชนม์บนกางเขนของพระองค์ การฟื้นพระชนม์ของพระองค์ และทรงได้รับการ
สถาปนาขึ้นครองราชย์บนสวรรค์ จากนั้นอัครทูตยอห์นกล่าวถึงสิ่งที่พระเยซูได้ทำ “และทรงตั้งเราให้เป็นอาณาจักร และเป็นพวกปุโรหิตของพระเจ้า
พระบิดาของพระองค์” (วิวรณ์ 1:5, 6)
          พระองค์ “ทรงรักเรา” ในต้นฉบับดั้งเดิมภาษากรีกอ้างถึง ความรักที่ดำเนินต่อเนื่องไป ซึ่งโอบล้อมสิ่งที่เกิดในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต พระคริสต์
ทรงรักเราและปลดปล่อยเราจากความบาปโดยพระโลหิตของพระองค์ ในภาษากรีก คำกริยาที่ว่า “ปลดปล่อย” (released) อ้างถึงการกระทำที่สำเร็จ
ในอดีต: เมื่อพระเยซูทรงสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน พระองค์ทรงจัดการไถ่เราสู่สภาพเดิม ให้หลุดพ้นจากความบาปของเราอย่างสมบูรณ์ และเสร็จสิ้น
ตลอดไป
     พระธรรมเอเฟซัส 2:6 และ ฟีลิปปี 3:20 พรรณนาถึงเหล่าผู้ได้รับการไถ่ เป็นผู้ที่พระองค์ทรงให้เป็นขึ้นมากับพระองค์ และทรงโปรด

ให้นั่งในสวรรค์สถานกับพระเยซูคริสต์ นั่นหมายถึงอะไร และเราจะนำเสนอความชื่นชมยินดีด้วยสง่าราศีในพระคริสต์ผู้ทรงเป็น “กษัตริย์
และมหาปุโรหิต” วิวรณ์ 1:6 อย่างไร ขณะที่เรายังอยู่ในโลกแห่งการสาปแช่ง ความจริงส่งผลต่อวิถีการดำเนินชีวิตของเราอย่างไร

วันพฤหัสบดี ประเด็นสำคัญของพระธรรมวิวรณ์

                           The Keynote of Revelation

          บทสรุปของบทนำของพระธรรมวิวรณ์ชี้ไปยังจุดโฟกัสของพระธรรมทั้งเล่ม: การเสด็จกลับมาของพระเยซูด้วยฤทธานุภาพ และสง่าราศี พระคริสต์
ทรงสัญญาจะเสด็จกลับมาอีก ซึ่งทรงกล่าวซ้ำถึงสามครั้งในตอนสรุปของพระธรรมเล่มนี้ (วิวรณ์ 22:7, 12, 20)
          อ่านพระธรรมวิวรณ์ 1:7, 8 ถ้อยคำของพระคัมภีร์เหล่านี้ได้รับจากข้อพระคัมภีร์ว่าด้วยคำพยากรณ์สองสามข้อคือ: ดาเนียล 7:13, 14;
เศคาริยาห์ 12:10; มัทธิว 24:30 ข้อพระคัมภีร์เหล่านี้บอกอะไรเราเกี่ยวกับ “ความแน่นอน” ของการเสด็จกลับมาครั้งที่สอง
พระธรรมวิวรณ์กล่าวถึงการเสด็จกลับมาครั้งที่สองเป็นจุดสิ้นสุดของประวัติศาสตร์โลก การเสด็จกลับมาครั้งที่สอง “เป็นเครื่องหมาย” ของการ
สิ้นสุดประวัติศาสตร์ของโลกนี้ และเป็นจุดเริ่มต้นของอาณาจักรชั่วนิรันดร์ของพระเจ้า ขณะเดียวกันเป็นเครื่องหมายแห่งเสรีภาพจากความชั่วร้ายทั้งปวง
ความทุกข์ทรมาน ความเจ็บปวด และความตาย
           เหมือนกับพระธรรมของพระคัมภีร์ใหม่ทั้งเล่ม พระธรรมวิวรณ์ 1:7 ชี้ไปยังการเสด็จกลับมาของพระคริสต์ว่า “นี่แน่ะ พระองค์จะเสด็จมาพร้อมกับ
หมู่เมฆ และนัยน์ตาทุกดวงจะเห็นพระองค์ แม้แต่คนทั้งหลายที่แทงพระองค์”พระคัมภีร์ข้อนี้บ่งบอกถึงการฟื้นคืนชีวิตเป็นกรณีพิเศษตามตัวอักษรของบุคคล
บางคนก่อนการเสด็จกลับมาครั้งที่สองของพระคริสต์ อันรวมไปถึงเหล่าคนที่ได้ตรึงพระองค์ ขณะที่โดยภาพรวมพระองค์เสด็จมารับบุคคลทั้งปวง (ทั้ง
มีชีวิตอยู่ และที่ตายไปแล้ว) ซึ่งรอคอยการเสด็จกลับมาของพระองค์ และจะนำพวกเขาไปยังสวรรค์ ขณะเดียวกันคนที่ไม่เชื่อ คือคนที่ปฏิเสธความรักและเมตตาคุณของพระองค์ ต้องได้รับการพิพากษา
          ความแน่นอนในการเสด็จกลับมาของพระคริสต์ถูกกล่าวยืนยันด้วยคำว่า “เพราะจะเป็นไปอย่างนั้น อาเมน” (วิวรณ์ 1:7) คำที่ว่า “เพราะจะเป็น
ไปอย่างนั้น” เป็นคำที่แปลมาจากภาษากรีก คือ “nai” ส่วนคำว่า “amen”เป็นภาษาฮีบรูหมายถึง “การกล่าวยืนยันให้เป็นไปเช่นนั้นเทอญ” เมื่อประมวล
ถ้อยคำเหล่านี้เข้าด้วยกันแสดงให้เห็นถึง “ความแน่นอน” ซึ่งถ้อยคำทั้งสองสรุปความแน่นอนในลักษณะที่คล้ายกันกับพระธรรมวิวรณ์ “พระองค์ผู้ทรง
เป็นพยานในเหตุการณ์เหล่านี้ตรัสว่า “เราจะมาในเร็วๆ นี้แน่นอน” อาเมน“พระเยซู องค์พระผู้เป็นเจ้า เชิญเสด็จมา เถิด” (วิวรณ์ 22:20)
      “มากกว่าหนึ่งพันแปดร้อยปีได้ผ่าน (เอลเลน จี. ไว้ท์ นับถึงสมัยของนางเอง ในปี ค.ศ. 1913) ตั้งแต่พระผู้ช่วยให้รอดได้ประทานพระสัญญาว่า
พระองค์จะเสด็จกลับมา ในช่วงหลายสิบศตวรรษถ้อยคำของพระองค์ได้เติมดวงใจ และหนุนดวงจิตเหล่าผู้สัตย์ซื่อในความเชื่อ พระสัญญานั้นยังไม่สำเร็จ
สมจริง: พระสุรเสียงของผู้ประสาทชีวิตยังไม่ได้เรียกเหล่าผู้ชอบธรรมที่นอนหลับอยู่ในหลุมฝังศพให้ตื่นขึ้นสู่ชีวิตอมตะ แต่พระสัญญาที่ตรัสออกมานั้น
เป็นถ้อยคำที่แน่นอน ในเวลาของพระองค์ พระเจ้าจะทำให้ถ้อยคำของพระองค์สำเร็จสมจริง มีใครบ้างไหมที่รู้สึกเหนื่อยล้าในเวลานี้ เราจะปล่อยมือจากความ
เชื่อที่เราได้ยึดมั่นมานานแล้วหรือ ในขณะที่เราอยู่ใกล้วาระสุดท้ายของโลก มีใครบ้างจะพูดว่า เมืองบรมสุขเกษมนั้นยังอยู่ไกลมาก ไม่ ไม่ ยังเหลือเวลาอีก
ไม่นาน พระคริสต์จะเสด็จมา และพระองค์จะทรงเช็ดน้ำตาที่ไหลจากดวงตาของเรา ขอให้เรารออีกหน่อย แล้วพระองค์จะเสนอเราต่อพระบิดาอย่างไร้
ตำหนิ ต่อพระพักตร์พระบิดาเราทั้งหลายจะเต็มด้วยความงามสง่า ใบหน้าฉายความชื่นชมยินดียิ่งเกินกว่าความชื่นชมยินดีใดๆ ที่เคยรู้สึก” (เอลเลน
จี. ไว้ท์, The Advent Review and Sabbath Herald, 13 พฤศจิกายน 1913)


          การที่พระคริสต์ทรงประทานพระสัญญา เป็นถ้อยคำที่ “ชอบธรรมสัตย์ซื่อ มั่นคงในคุณความดี” ดังคำว่า (integrity) ซึ่งเป็นพระลักษณะ
พระอุปนิสัยของพระองค์ พระองค์ทรงมีความสามารถทำให้พระสัญญา
นั้นเป็นจริงแน่นอน ความจริงที่พระคริสต์ทรงสัญญาว่าพระองค์จะ
เสด็จกลับมาครั้งที่สอง ซึ่งในอดีตพระองค์ทรงรักษาพระสัญญาไว้ทุกข้ออย่างมั่นคง เมื่อพระองค์ได้ทรงสัญญาแล้ว พระองค์จะทำให้คุณมั่นใจ
ว่า พระคริสต์จะเสด็จกลับมาครั้งที่สอง ตามที่พระองค์ทรงสัญญาไว้แน่นอน

วันศุกร์    ศึกษาเพิ่มเติม:

            อ่านงานเขียนของ เอลเลน จี. ไว้ท์, Testimonies to Ministers andGospel Workers, ในบท “การศึกษาพระธรรมดาเนียล” และ “พระธรรม
วิวรณ์”, หน้า 112-119
           “การเปิดเผยนี้ทรงประทานให้ เพื่อเป็นเครื่องชี้นำ และให้การหนุนใจคริสตจักร ตลอดประวัติศาสตร์ของคริสเตียน...พระธรรมวิวรณ์เป็นสิ่งที่เผย
ให้ทราบ องค์พระผู้เป็นเจ้าเองทรงเปิดเผยให้ผู้รับใช้ทราบถึงข้อลึกลับที่บรรจุอยู่ในหนังสือ และพระองค์ทรงออกแบบให้พวกเขาเปิดหน้าหนังสือเพื่อการ
ศึกษาหมดทั้งเล่ม ความจริงที่มีอยู่ถูกแสดงออกแก่เหล่าผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาสุดท้ายของประวัติศาสตร์โลกพอๆ สำหรับผู้มีชีวิตอยู่ในสมัยของอัครทูต
ยอห์น ฉากบางฉากพรรณนาถึงคำพยากรณ์ในอดีต บ้างก็แสดงให้เห็นในสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน และบางฉากแสดงให้เห็นภาพเหตุการณ์สุดท้าย
ของความขัดแย้งยิ่งใหญ่ระหว่างอำนาจของความมืด และเจ้าชายแห่งสวรรค์และบางฉากเผยถึงชัยชนะ และความชื่นชมยินดีของเหล่าผู้ถูกไถ่ให้รอดใน
โลกที่ถูกสร้างใหม่
          “อย่าให้ใครคิดว่า เพราะข้อความในพระธรรมวิวรณ์ไม่อาจอธิบายความหมายได้ทุกสัญลักษณ์ ซึ่งบันทึกไว้ในพระธรรมวิวรณ์ ดังนั้นจึงเปล่า
ประโยชน์สำหรับพวกเขาที่จะค้นหาความหมายในพระธรรมเล่มนี้ พระเจ้าองค์ผู้ทรงเผยข้อลึกลับนี้ให้อัครทูตยอห์นทราบว่า จะทรงประทานความจริงให้กับผู้ที่
ค้นหาอย่างหมั่นเพียร เพื่อพวกเขาจะได้ชิมรสชาติของสวรรค์ล่วงหน้า ผู้ที่มีใจเปิดออกต้อนรับความจริงจะสามารถเข้าใจคำสอนของพระธรรมเล่มนี้

          ดังพระสัญญาที่ว่า “พระเจ้าจะทรงประทานพรแก่ผู้ที่เชื่อฟังถ้อยคำแห่งคำพยากรณ์ที่เขียนไว้ในพระธรรมเล่มนี้” (เอลเลน จี. ไว้ท์, กิจการของอัครทูต,
หน้า 583-585)

คำถามเพื่อการอภิปราย: 


1. ถ้าพระธรรมวิวรณ์กำลังเปิดม่านของพระเยซูคริสต์ออก เพราะเหตุใดพระคัมภีร์เล่มสุดท้ายนี้จึงมีความหมายด้านลบในปัจจุบัน
มีอะไรบอกเราถึงการรับรู้พระธรรมวิวรณ์ของคริสเตียนทั้งหลายและเพราะเหตุใดคำว่า “เกรงกลัว” (fear) จึงถูกใช้กับคำพยากรณ์
ในพระธรรมวิวรณ์บ่อยมาก
2. มีบางคนที่ทำนายถึงวาระสุดท้ายและการเสด็จครั้งที่สองของพระเยซูผิดพลาด คำทำนายเหล่านั้นส่งผลด้านลบต่อคริสเตียน
และบุคคลภายนอกอย่างไร เราจะทำให้คำพยากรณ์เกี่ยวกับวาระสุดท้ายและการเสด็จกลับมาครั้งที่สองเกิดความกระจ่างแก่
คนอื่นได้อย่างไร

                                                     <previous>        <Go Home>     <Next Lesson>