Thai SDA Church

Smile to the World and the World will smile back at you.

Chapter 12: การปฏิบัติต่อข้อความที่ยาก

 

 

บทที่ 12

                                               การปฏิบัติต่อข้อความที่ยาก

                            Dealing With Difficult Passages

วันที่ 13 - 19 มิถุนายน 2020

บ่ายวันสะบาโต

อ่านข้อพระคัมภีร์สำหรับบทเรียนสัปดาห์นี้

2 ทิโมธี 2:10-15; 1 พงศาวดาร 29:17; ยากอบ 4:6-10; กาลาเทีย 6:9; กิจการฯ 17:11

ข้อควรจำ

และจงถือว่าความอดทนขององค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา เป็นโอกาสให้คนรอด ดังที่เปาโลน้องที่รักของเราได้เขียนจดหมายถึงพวกท่าน ตามสติปัญญาที่ประทานแก่เขานั้น ในจดหมายทุกฉบับของเขาก็ได้กล่าวถึงเหตุการณ์เหล่านี้ไว้แล้ว ในจดหมายเหล่านั้นมีบางอย่างที่เข้าใจยาก คนทั้งหลายที่รู้เท่าไม่ถึงการ และมีใจไม่มั่นคงได้บิดเบือนข้อความเสีย เหมือนอย่างที่เขาได้บิดเบือนข้ออื่นๆ ในพระคัมภีร์อันเป็นเหตุให้ตนเองพินาศ”

(2 เปโตร 3:15-16)

   มื่ออภิปรายจดหมายฝากทั้งหลายของอัครทูตเปาโล อัครทูตเปโตรเขียนว่าในจดหมายฝากดังกล่าว และที่อื่นในพระคัมภีร์ “มีบางอย่างที่เข้าใจยาก” (2 เปโตร 3:16) ท่านไม่ได้พูดว่าทุกอย่างเข้าใจยาก แต่มีบางข้อเข้าใจยาก เราทราบอยู่แล้วว่า ผู้อ่านที่สัตย์ซื่อต่อพระเจ้าต่างเคยอ่านเจอข้อความที่แปลกและไม่เข้าใจทั้งนั้น นี่คือเหตุผลที่สัปดาห์นี้ เราจะมุ่งไปหาข้อพระคัมภีร์ที่เข้าใจยาก ว่าอะไรเป็นเหตุผลของความท้าทายนี้ และในฐานะที่เป็นผู้แสวง หาความจริงที่สัตย์ซื่อจากพระวจนะของพระเจ้า เราจะสามารถทำงานผ่านข้อพระคัมภีร์เหล่านี้ได้อย่างไร ข้อความที่ท้าทายเหล่านี้บางข้ออาจไม่เคยได้รับความกระจ่าง ในเวลาเดียวกันพระคัมภีร์ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ไม่ยาก เราจึงไม่จำเป็นต้องปล่อยให้ข้อพระคัมภีร์จำนวนเล็กน้อยที่เข้าใจยากเหล่านี้ ทำให้ความน่าไว้วางใจ และสิทธิอำนาจแห่งพระวจนะของพระเจ้าในจิตใจของเราอ่อนกำลังลง

 _______________________________________________

 

 

วันอาทิตย์ เหตุผลที่เป็นไปได้สำหรับข้อที่แตกต่างชัดเจน

Possible Reason for Apparent Contradictions

         อ่าน 2 ทิโมธี 2:10-15 เปาโลเตือนสติทิโมธีให้ใช้ “พระวจนะแห่งความจริง” (2 ทิโมธี 2:15) อย่างไร และมีอะไรสำคัญสำหรับเราตรงนี้

        นักศึกษาพระคัมภีร์ที่สัตย์ซื่อต่อพระวจนะไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ไม่มีข้อพระคัมภีร์ที่เข้าใจยาก สิ่งนี้ไม่ควรจะมารบกวนเรา แต่ควรเตือนสติเราให้รู้ถึงข้อจำกัดของตน ไม่มีบุคคลใครสามารถเข้าใจทุกข้อความได้อย่างถ่องแท้ เราควรมอบเรื่องเหล่านี้ไว้กับพระเจ้า และวางใจในพระองค์ เพราะไม่มีอะไรจะพิสูจน์ได้ว่า พระคัมภีร์ไม่ใช่ความจริง

ผู้ที่ไม่ยอมรับคำสอนของพระคัมภีร์ที่พระเจ้าทรงเปิดเผยด้วยการดลใจบ่อยครั้งพวกเขาพูดถึงความเข้าใจยาก ความขัดแย้ง และข้อผิดพลาด เพราะพวกเขามองว่าพระคัมภีร์เป็นเพียงหนังสือของมนุษย์ พวกเขาเชื่อว่าพระคัมภีร์บรรจุสิ่งที่ไม่สมบูรณ์และมีข้อผิดพลาด ด้วยการปักใจเช่นนั้น จึงไม่มีความพยายามที่จะหาคำอธิบาย เพื่อหาความเป็นเอกภาพและความน่าเชื่อถือ ผู้ที่เริ่มตั้งคำถามตั้งแต่หน้าแรกของพระคัมภีร์เกี่ยวกับการทรงเนรมิตสร้าง ไม่นานคนเหล่านี้จะถูกโยนเข้าสู่ความสงสัย และไม่วางใจพระคัมภีร์ข้ออื่นๆ ที่เหลือ

      ความไม่ลงตัวบางประการในพระคัมภีร์อาจเกิดจากความผิดพลาดเล็กน้อยของผู้คัดลอก หรือจากการแปลพระคัมภีร์ เอลเลน จี. ไว้ท์ กล่าวว่า “บางคนมองเราอย่างจริงจัง แล้วพูดว่า ‘คุณอย่าคิดว่าอาจมีความผิดพลาดโดยผู้คัดลอก หรือผู้แปลพระคัมภีร์’ ทั้งหมดนี้อาจเป็นไปได้ และการที่มีจิตใจคับแคบมาก จะทำให้เกิดความลังเล และสะดุดได้ หรือพร้อมจะสะดุดถึงความลึกลับ

 

 

      ของพระวจนะที่ได้รับการดลใจ เพราะว่าจิตใจของพวกเขาอ่อนกำลังไม่สามารถมองผ่านพระประสงค์ของพระเจ้า ถูกแล้ว พวกเขาเพียงแค่สะดุดล้มอย่างง่ายดายเหนือข้อเท็จจริงอันกระจ่าง ที่ดวงจิตของคนปกติจะยอมรับ และสังเกตได้ว่าเป็นสิ่งที่มาจากพระเจ้า ซึ่งพระเจ้าตรัสออกมาอย่างชัดเจนและงดงามยิ่ง เต็มไปด้วยไขกระดูกและความสมบูรณ์ ความผิดพลาดทั้งหมดไม่ควรเป็นเหตุทำให้วิญญาณดวงหนึ่ง หรือเท้าของใครสะดุด” (เอลเลน จี. ไว้ท์, Selected Messages, เล่ม 1, หน้า 16)

เพราะเหตุใดจึงสำคัญมากที่เราจะเข้าถึงพระคัมภีร์ด้วยความถ่อมใจ และยอมจำนนต่อพระวิญญาณบริสุทธิ์

 

 

 

 _______________________________________________

วันจันทร์

Deal With Difficulties Honestly and Carefully

       ท่านเคยอ่านเจอข้อพระคัมภีร์ที่ไม่เข้าใจเลยบ้างไหม ความยากอาจเกิดจากพระคัมภีร์ไม่สอดคล้องกันในภาพรวม หรือไม่เหมือนกับเรื่องเดียวกันในเล่มอื่น ท่านได้ตอบสนองอย่างไร และท่านควรจะตอบสนองอย่างไร

       อ่าน 1 พงศาวดาร 29:17 สุภาษิต 2:7 และ 1 ทิโมธี 4:16 จากข้อพระคัมภีร์เหล่านี้ เราจะแก้ปัญหาข้อความที่เข้าใจยากได้อย่างไร

 

 

ถ้าเราสัตย์ซื่อเราจะสามารถผ่านความยากลำบากไปได้ ความสัตย์ซื่อจะช่วยปกป้องเรา ดังนั้นเราจะไม่หลีกเลี่ยงความยุ่งยาก ความสัตย์ซื่อจะยับยั้งเราจากการตอบอย่างผิวเผิน ซึ่งไม่อาจรับการทดสอบอย่างละเอียดได้ พระเจ้าทรงพอพระทัยความจริงใจและความซื่อตรง เราควรเลียนแบบพระคริสต์ในการศึกษาพระคัมภีร์ของเรา

         บุคคลที่สัตย์ซื่อต่อพระคัมภีร์จะไม่พูดถึงข้อที่เข้าใจยากเพื่อชวนให้สงสัยหรือบิดเบือนความจริงด้วยการใช้ภาษาที่เข้าใจยาก การหาหลักฐานจูงใจให้วางใจและศึกษาจะดีกว่าการการพูดถึงสิ่งที่ยากและคำตอบที่ไม่น่าพึงพอใจ ความสัตย์ซื่อต่อพระคัมภีร์จะสร้างความน่าเชื่อถือและความสัมพันธ์ที่มั่นคงแก่บุคคลอื่น ซึ่งดีกว่าการพูดสิ่งที่ชวนให้คนไม่วางใจในพระวจนะของพระเจ้า

        บุคคลที่เอาใจใส่อย่างระมัดระวังในการศึกษาความจริงของพระวจนะ พวกเขาจะพากเพียรและไม่รีบสรุปอย่างรวบรัดด้วยความรู้ในวงจำกัด หรือด้วยหลักฐานที่ไม่ชัดเจน และบุคคลที่มีความรอบคอบจะไม่มองข้ามรายละเอียดใดๆ ที่มีความสำคัญในพระวจนะของพระเจ้า

          ท่านควรทำอย่างไรกับข้อพระคัมภีร์ที่ท่านไม่เข้าใจ หรือดูเหมือนไม่ลงตัวในความคิดของท่าน

 

_______________________________________________

 

วันอังคารปฏิบัติต่อสิ่งที่เข้าใจยากอย่างถ่อมใจ

 Deal With Difficulties Humbly

       อ่าน ยากอบ 4:6-10; 2 พงศาวดาร 7:14 และ เศฟันยาห์ 3:12 เพราะเหตุใดความใจจึงสำคัญต่อการจัดการกับสิ่งที่เข้าใจยาก

      คนจำนวนมากได้ผลจากความถ่อมใจ พวกเขาพึ่งพาบางสิ่งและบางคนนอกเหนือจากตัวเอง พวกเขาตระหนักว่าตนไม่สามารถจะทำอะไรได้ทุกอย่าง คนเหล่านี้มองเห็นคุณค่าของความจริงเหนือกว่าความต้องการของตน และพวกเขารู้ว่าความจริงไม่ใช่สิ่งที่ตนทำแต่เป็นสิ่งที่ตนเผชิญ บางทีเขาเข้าใจความจริงอันยิ่งใหญ่เพียงน้อยนิดเท่านั้น ดังที่อัครทูตเปาโลกล่าวว่า พวกเขา “มองเห็นสลัวๆ เหมือนดูในกระจก” (1 โครินธ์ 13:12)

      ผลของความถ่อมใจคือ การเติบโตในด้านความรู้ เสรีภาพ และเป็นคนที่สอนได้ นี่ไม่ได้หมายความว่าคนที่ถ่อมใจจะไม่เคยผิดพลาด หรือจะเปลี่ยนใจเขาเสมอ และไม่เคยมีใจหนักแน่น แต่หมายความว่าพวกเขายอมรับความจริงของพระคัมภีร์ พวกเขารู้ข้อจำกัดเรื่องความรู้ของตน จึงสามารถขยายความรู้ และความเข้าใจตามพระคัมภีร์ได้ แต่คนที่เข้ามาหาพระวจนะของพระเจ้าด้วยท่าทีอยากตรวจสอบพระวจนะด้วยดวงจิตที่ไม่เห็นด้วย พระเจ้าจะนำวิญญาณแห่งการแสวงหาออกไป พระองค์จะไม่ตรัสกับดวงจิตที่ไม่ใส่ใจจริงจัง พระองค์จะไม่เสียเวลาสั่งสอนคนใดที่ไม่เต็มใจจะเปลี่ยนแปลง หรือละทิ้งสิ่งแปดเปื้อน

 

เราจำเป็นต้องถ่อมใจลง และค้นหาพระวจนะแห่งชีวิตด้วยความนอบน้อม ดวงจิตที่สำนึกผิดเช่นนี้เท่านั้นที่จะสามารถเห็นแสงสว่างได้” Advent Review and Sabbath Herald, 22 สิงหาคม 1907”

       ท่านจะทำให้เกิดความสมดุลระหว่างการถ่อมใจและความมั่นใจได้อย่างไร เช่น ตอบคำถามเกี่ยวกับวันสะบาโตตามความเชื่อของเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสให้คนอื่นที่เข้าใจเรื่องนี้ผิดอย่างไร

 

_______________________________________________

 

 

พุธ ความแน่วแน่และความอดทน

Determination and Patience

      อ่าน กาลาเทีย 6:9 จากสิ่งที่เปาโลกล่าวในที่นี่ เพราะเหตุใดจึงต้องมีความแน่วแน่และความอดทนในการแก้ปัญหาต่างๆ

          จะบรรลุความสำเร็จต้องมีความแน่วแน่ สิ่งที่ได้มาง่ายจะมีค่าต่ำพระ-คัมภีร์ให้โอกาสเราในการใช้สมองทำงาน ยิ่งใช้เวลามากก็จะยิ่งได้รับความเข้าใจมาก ประสบการณ์ของความขยันหมั่นเพียรในการค้นหาพระคัมภีร์จะเป็นพระพรอันยิ่งใหญ่ที่สามารถตอบคำถามและข้อสงสัยได้

     การแก้ปัญหาที่ยากไม่ได้ ไม่ใช่ข้อพิสูจน์ว่าปัญหานั้นยากจนแก้ไม่ได้บางครั้งต้องมองข้ามหลักฐานและข้อมูลที่มีไว้ก่อน บางคนแก้ไม่ได้เพราะใช้ความคิดความตั้งใจน้อยไป พอไม่ได้ก็รีบสรุปว่ายาก บางคนตั้งคำถามกับความน่าเชื่อถือของพระคัมภีร์มากเกินไป แม้เราจะมีข้อจำกัดด้านสติปัญญา แต่ถ้าเราตั้งใจ เราก็จะค่อยๆ เข้าใจเหมือนการเริ่มเรียนคณิตศาสตร์ที่ไม่อาจแก้โจทย์ที่ยากได้ในชั่วโมงแรก แต่เมื่อฝึกหัดมากขึ้นก็จะทำได้ การศึกษาพระคัมภีร์ก็เหมือนกัน

     เมื่อเจอสิ่งที่ยากมาท้าทาย ต้องรักษาความตั้งใจแน่วแน่ไว้ และปฏิบัติตามสิ่งที่พระเจ้าทรงเปิดเผยแก่เรา ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งจะเกิดขึ้นหลังจากที่เราเต็มใจดำเนินตามสิ่งที่ได้รับการเปิดเผยจากพระองค์ ความแน่วแน่และความอดทนในการศึกษาพระคัมภีร์เป็นคุณสมบัติของผู้เชื่อในวาระสุดท้าย (ดู วิวรณ์ 14:12)

 

มีอะไรที่เราเรียนรู้จากผู้ที่มีความแน่วแน่และความอดทนในการศึกษาพระคัมภีร์ที่ยาก และเราจะหนุนใจคนอื่นไม่ให้ล้มเลิกความตั้งใจในการค้นหาความจริงในพระคัมภีร์ที่ยากได้อย่างไร

_______________________________________________

 

วันพฤหัสบดี การปฏิบัติต่อความยากของพระคัมภีร์และการอธิษฐาน

Dealing With Difficulties Scripturally and Prayerfully

        อ่าน กิจการฯ 17:11; 8:35; 15:15, 16 อัครทูตเปาโล และสมาชิกในยุคแรกทำอะไร เพื่อพวกเขาเจอปัญหาที่ยุ่งยาก เพราะเหตุใดพระ-คัมภีร์จึงเป็นข้อมูลที่ดีในการตีความหมายพระคัมภีร์เอง

      วิธีแก้ปัญหาดีที่สุดสำหรับข้อพระคัมภีร์ที่เข้าใจยากคือให้พระคัมภีร์อธิบายตัวเอง แทนที่จะใช้ข้อพระคัมภีร์เพียงข้อเดียวที่อยู่อย่างโดดๆ ให้ใช้พระคัมภีร์ข้ออื่นเข้ามาช่วย ด้วยการขุดค้นให้ลึกเข้าไปในพระคัมภีร์ทั้งเล่มที่เป็นเหมืองแห่งความจริง แล้วจะพบความจริงอันยิ่งใหญ่ได้ นี่คือวิธีที่เราทำได้

         ถ้าท่านไม่เข้าใจพระคัมภีร์ข้อใด จงพยายามรวบรวมแสงสว่างจากพระคัมภีร์ข้ออื่นที่พูดถึงเรื่องเดียวกัน มองหาข้อความที่ชัดเจนที่สามารถอธิบายพระคัมภีร์ข้อที่ไม่กระจ่าง อย่าสับสนกับสิ่งที่เข้าใจดีแล้ว แต่ให้ใช้เป็นเครื่องมือเปิดเผยสิ่งที่ยังเข้าใจไม่ชัดเจนให้แก่เรา

      มีคำกล่าวมานานแล้วว่า ในการคุกเข่าอธิษฐานของเรา ให้มองไปยังข้อพระคัมภีร์ที่เข้าใจยาก ด้วยสายตาใหม่ การอธิษฐานเป็นเครื่องหมายว่าเราต้องการให้เบื้องบนช่วยเราในการตีความหมายพระคัมภีร์ให้เข้าใจ ในการอธิษฐานขอความเข้าใจ พระวิญญาณที่ทรงดลใจให้คนเขียนพระคัมภีร์จะทรงช่วยให้เราเข้าใจพระคัมภีร์เหล่านั้น

          ในการอธิษฐาน จงบอกความต้องการที่แท้จริงออกมาว่า ทำไมเราจึงต้องการเข้าใจสิ่งนั้น แล้วพระเจ้าจะทรงประทานพระวิญญาณของพระองค์ให้ช่วยเหลือเรา พระวิญญาณของพระเจ้าจะไม่นำเราไปสู่สิ่งที่ขัดแย้งกับพระ-คัมภีร์ แต่จะทรงช่วยให้เราเข้าใจข่าวสารที่เขียนไว้ในพระคัมภีร์

การอธิษฐานสามารถช่วยนำจิตใจของเราเข้าไปอยู่ในกรอบที่ถูกต้อง ให้เข้าใจพระคัมภีร์ได้ถูกต้อง และมีใจเชื่อฟังพระวจนะของพระองค์ได้อย่างไร

_____________________________________________________________________________

วันศุกร์

ศึกษาเพิ่มเติม:

อ่านหนังสือของ เอลเลน จี. ไว้ท์, จะทำะไรกับความสงสัย, เคล็ดลับแห่งความสุข, หน้า 105-113 อ่าน section 8 in the Document “Method of Bible Study” Which can be found at http: www.adventistbiblicalre­search.org/materials/bible-interpretation-hermeneutics/method-bible-study.

     พระคัมภีร์มีความลึกลับหลายอย่าง เป็นการยากที่มนุษย์ผู้มีข้อจำกัดจะเข้าใจได้ทั้งหมด เราต้องถ่อมกายใจลง และเต็มใจจะเรียนรู้ ความสัตย์ซื่อต่อพระคัมภีร์ คือให้พระคัมภีร์สอนเราตรงๆ แม้จะขัดกับนิสัยของเรา เราต้องรับสิ่งที่พระคัมภีร์สอน ความสัตย์ซื่อต่อพระคัมภีร์เป็นการจะให้ความเคารพพระคัมภีร์มากกว่าที่จะเปลี่ยนแปลงความหมายของพระคัมภีร์เพื่อตัวเอง  มีหลายสิ่งที่ดูว่ายากและคลุมเครือ แต่พระเจ้าจะทรงประทานความกระจ่างและความเข้าใจให้แก่ผู้ที่แสวงหาความเข้าใจ ถ้าหากเราไม่ได้รับการทรงนำจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ เราจะเลี่ยงต่อการที่จะต้องปล้ำสู่กับพระคัมภีร์หรือแปลความหมายผิดได้ตลอดเวลา มีการอ่านพระคัมภีร์มากมายที่ไม่เกิดประโยชน์และในหลายๆ กรณีกลับส่งผลเสีย เมื่อเราเปิดพระวจนะของพระเจ้าโดยปราศจากความรู้สึกยำเกรงและปราศจากการอธิษฐาน เมื่อความนึกคิดและความรู้สึกของเราไม่ได้ติดสนิทอยู่กับพระเจ้า หรือประสานเข้ากับน้ำพระทัยของพระองค์ เมื่อนั้นความนึกคิดของเราจะถูกครอบงำด้วยความสงสัยและการศึกษาพระคัมภีร์ในสภาพเช่นนี้จะทำให้ความสงสัยมีอำนาจมากขึ้นศัตรูจะเข้าควบคุมความคิด และมันจะเสนอคำแปลที่มีความหมายไม่ถูกต้อง เมื่อใดก็ตามที่มนุษย์ไม่ได้แสวงหาความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพระเจ้าทั้งในพระธรรมและการกระทำแล้ว ไม่ว่าเขาจะเรียนมามากเพียงไร เขาก็อาจจะเข้าใจพระคัมภีร์ผิดได้ และการวางใจในคำอธิบายของเขาก็เป็นสิ่งที่ไม่ปลอดภัย ผู้ที่มองเห็นความขัดแย้งในพระคัมภีร์ ก็เป็นผู้ที่ไม่มีสายตาทางฝ่ายวิญญาณ เนื่องจากสายตาของพวกเขาผิดเพี้ยน พวกเขาจึงมองสิ่งที่เรียบง่ายและชัดเจนกลายเป็นสิ่งที่สร้างความสงสัยและความไม่เชื่อให้แก่เขา” (เอลเลน จี. ไว้ท์, เคล็ดลับแห่งความสุข, หน้า 110, 111)

 

คำถามเพื่อการอภิปราย:

1. เพราะเหตุใดท่าทีที่เรามีต่อพระคัมภีร์จึงเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะ ช่วยให้เราเข้าใจพระคัมภีร์ได้ถูกต้อง และมีท่าทีอะไรบ้างที่ท่าน คิดว่าสำคัญต่อการทำความเข้าใจพระคัมภีร์

2. เพราะเหตุใดเราจึงไม่ควรแปลกใจกับพระคัมภีร์บางข้อที่อธิบายได้ ยาก แม้แต่ธรรมชาติก็มีสิ่งที่ยากจนไม่สามารถจะอธิบายได้ใช่ หรือไม่

3. ในฐานะที่เป็นแอ๊ดเวนตีส เราจะอธิบายข้อความใน ลูกา 23:43 อย่างไร ตามพระคัมภีร์ฉบับแปลส่วนมากที่แปลว่า พระเยซูทรง บอกโจรบนไม้กางเขนคนหนึ่งว่า เขาจะได้อยู่บนสวรรค์กับ พระองค์ในวันนั้น ข้อพระคัมภีร์ต่อไปนี้มีส่วนช่วยตอบคำถามนี้ อย่างไร ยอห์น 20:17; ปัญญาจารย์ 9:5 และ 1 โครินธ์ 15:16-20

 

 

 

 

 

 

  Previous/บทที่แล้ว  Next/บทต่อไป  Contents/สารบํญ