Thai SDA Church

Smile to the World and the World will smile back at you.

Chapter 10:

บทที่ 10

พระคัมภีร์เป็นประวัติศาสตร์

The Bible as History

วันที่ 30 พฤษภาคม - 5 มิถุนายน 2020

 

บ่ายวันสะบาโต

อ่านข้อพระคัมภีร์สำหรับบทเรียนสัปดาห์นี้

1 ซามูเอล บทที่ 17; อิสยาห์ 36:1-3; อิสยาห์ 37:14-38;ดาเนียล บทที่ 1, 5; มัทธิว 26:57-67; ฮีบรู 11:1-40

ข้อควรจำ

        “เราคือยาห์เวห์พระเจ้าของเจ้า ผู้ได้นำเจ้าออกจากแผ่นดินอียิปต์ คือจากแดนทาส” (อพยพ 20:2 และเฉลยธรรมบัญญัติ 5:6 ด้วย)

ระคัมภีร์ได้รับการเขียนขึ้นเป็นประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ของพระคัมภีร์จึงเป็นเส้นตรงที่มีความสมบูรณ์ จากจุดเริ่มต้นในการเนรมิตสร้างไปสู่เป้าหมายสูสุดคือการไถ่โลกกลับสู่สภาพเดิม เมื่อพระเยซูเสด็จกลับมาครั้งที่สอง

            ประวัติศาสตร์ในพระคัมภีร์มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากหนังสือของศาสนาอื่น เพราะพระคัมภีร์ยืนยันถึงการดำรงอยู่ของพระเจ้า ผู้ทรงมีส่วนในประวัติศาสตร์ พระคัมภีร์เริ่มต้นว่า ในปฐมกาลพระเจ้าตรัสและชีวิตบนโลกได้ถูกสร้างขึ้น (ปฐมกาล 1:1-31) พระองค์ทรงเรียกอับราฮัมจากดินแดนของชาวเคลเดีย ทรงปลดปล่อยประชากรของพระองค์จากการเป็นทาสในอียิปต์ ทรงจารึกพระบัญญัติสิบประการด้วยนิ้วพระหัตถ์ของพระองค์บนศิลาสองสองแผ่น (อพยพ 31:18) ทรงส่งผู้เผยพระวจนะและทรงพิพากษา ทรงเรียกผู้คนให้ดำเนินชีวิตและเผยแพร่ข่าวสารไปสู่ชนชาติอื่น และสุดท้ายได้ทรงส่งพระบุตรของพระองค์ คือพระเยซูคริสต์เข้ามาในโลก

           สัปดาห์นี้ เราจะมุ่งไปที่ประเด็นของประวัติศาสตร์ตามลำดับเหตุการณ์ในพระคัมภีร์ และหลักฐานทางโบราณคดีบางชิ้นที่ช่วยพิสูจน์ประวัติศาสตร์ของพระคัมภีร์

_________________________________________________

 

วันอาทิตย์ ดาวิด ซาโลมอน และระบอบกษัตริย์

David, Soloman, and the Monarchy

      ระบอบกษัตริย์สมัยของดาวิดและซาโลมอนปกครอง เป็นยุคทองในประวัติศาสตร์ของประเทศอิสราเอล แต่ถ้าไม่มีดาวิดและซาโลมอนเป็นกษัตริย์ช่วงนั้นประเทศอิสราเอลจะเป็นไปอย่างไร บางคนกล่าวว่า คงจะไม่มีกรุงเยรูซาเล็มเป็นเมืองหลวงของประเทศ (2 ซามูเอล 5:6-10) ถ้าไม่มีดาวิดคงจะไม่มีการสร้างพระวิหารโดยซาโลมอน (1 พงศ์กษัตริย์ 8:17-20) สุดท้าย ถ้าปราศจากดาวิด พระเมสสิยาห์ในอนาคตก็จะไม่ผ่านพงศ์พันธุ์ของดาวิด (เยเรมีย์ 23:5, 6; วิวรณ์ 22:16) และประวัติศาสตร์ของชาติอิสราเอลก็จะถูกเขียนต่างออกไป กระนั้นประวัติศาสตร์ตามที่อ่านในพระคัมภีร์ถูกต้องตรงตามที่เป็นจริง ซึ่งทำให้ชาติอิสราเอล และคริสตจักรมีบทบาทพิเศษยิ่งในพันธกิจการประกาศพระกิตติคุณ

            อ่าน 1 ซามูเอล บทที่ 17 พระเจ้าทรงประทานชัยชนะให้อิสราเอลอย่างไร ใครเป็นผู้ถูกใช้และเกิดขึ้นที่ไหน

          จาก 1 ซามูเอล 17:1-3 ชาวฟีลิสเตียตั้งค่ายอยู่ระหว่างตำบลโสโคห์กับตำบลอาเซคาห์ ส่วนซาอูลและคนอิสราเอลตั้งค่ายอยู่ที่หุบเขาเอลาห์ เมื่อไม่นานมานี้มีการขุดค้นบริเวณดังกล่าว ได้เห็นเมืองที่มีกำแพงหนา มีป้อมปราการแข็งแกร่ง เป็นหลักฐานให้เห็นสมัยของกษัตริย์ซาอูลและดาวิด ในการขุดค้นคราวนั้นยังได้พบประตูเมืองสองประตู ซึ่งเมืองส่วนใหญ่ของอิสราเอลจะมีประตูเมืองเพียงประตูเดียว การพบว่าเมืองมีสองประตูแสดงให้เห็นว่าตัวเมืองซาอาราอิมมีขนาดใหญ่กว่าเมืองทั่วไป (1 ซามูเอล 17:52) ซึ่งในภาษาฮีบรูหมายถึง “สองประตู”

           ปี ค.ศ. 2008 และ 2013 มีการค้นพบจารึกสองชิ้น ทำให้หลายคนเชื่อว่า ข้อความจารึกในภาษาฮีบรูที่พบนั้นเป็นหลักฐานที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีบทที่ 10 พระคัมภีร์เป็นประวัติศาสตร์ 91

การค้นพบ ข้อความจารึกที่สองชื่อ “เอชบาอัล” (Eshbaal) ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับบุตรชายคนหนึ่งของซาอูล (1 พงศาวดาร 9:39)

             ปี ค.ศ. 1993 มีการขุดค้นด้านทิศเหนือของเมือง “เทล ดาน” (Tel Dan)ได้พบแผ่นจารึกที่เขียนโดยกษัตริย์ “ฮาซาเอล” (Hazael) แห่งดามัสกัส ที่บันทึกถึงชัยชนะเหนือ “กษัตริย์อิสราเอล” ที่เป็นกษัตริย์ในวงศ์วานของดาวิด เป็นหลักฐานทางโบราณคดีที่สนับสนุนความน่าเชื่อถือเกี่ยวกับประวัติของกษัตริย์กษัตริย์ที่เขียนไว้ในพระคัมภีร์

       เราสันนิฐานสิ่งที่เราเชื่ออย่างไร เหมือนที่บางคนอ้างว่ากษัตริย์ดาวิดไม่เคยมีตัวตนในประวัติศาสตร์จริง

_________________________________________________

วันจันทร์

อิสยาห์ เฮเซคียาห์ และเซนนาเคอริบ

Isaiah, Hezekiah and Sennacherib

          อ่าน อิสยาห์ 36:1-3; 37:14-38 เรื่องอัสซีเรียกทัพมามารุกรานประเทศยูดาห์ พระเจ้าทรงช่วยประชากรของพระองค์อย่างไร

          ปี 701 ก่อน ค.ศ. กษัตริย์เซนนาเคอริบ ได้ยกทัพใหญ่มารุกรานประเทศยูดาห์ เรื่องนี้บันทึกไว้ในพระคัมภีร์ และกษัตริย์เซนนาเคอริบก็ให้อาลักษณ์ของพระองค์บันทึกไว้ด้วย เมืองหลวงของอัสซีเรีย คือกรุงนีนะเวห์ กษัตริย์ได้คุยอวดว่า “เราได้ยึดเมืองที่มีกำแพงแข็งแรง 46 เมือง และหมู่บ้านจำนวนนับไม่ถ้วน (ของกษัตริย์เฮเซคียาห์) ที่เราได้ชัยชนะเหนือประเทศยูดาห์” ในพระราชวังของกษัตริย์เซนนาเคอริบที่เมืองนีนะเวห์ มีภาพแสดงชัยชนะเหนือประเทศยูดาห์ และภาพฉลองชัยชนะอีกชุดอยู่ที่เมือง “ลาชีสห์” (Lachish) ซึ่งมีทั้งภาพและคำอธิบายไว้ในพระราชวัง

          การขุดหาหลักฐานที่เมืองลาชีสห์ไม่นานมานี้ ได้พบซากปรักหักพังของเมืองหลังจากที่ถูกล้อมโจมตี และถูกเผาโดยทหารของกษัตริย์เซนนา-เคอริบ ที่น่าอัศจรรย์คือกรุงเยรูซาเล็มถูกช่วยให้รอดพ้น กษัตริย์เซนนาเคอริบได้คุยอวดว่า “เราได้กักบริเวณกษัตริย์ยูดาห์ไว้ เหมือนขังนกเขาไว้ในกรง” ไม่มีคำบรรยายถึงความพินาศของเยรูซาเล็ม และไม่มีบันทึกถึงการจับชาวยูดาห์ไปเป็นเชลยศึกหรือเป็นทาส92 การตีความหมายพระคัมภีร์

         เป็นความจริงที่เยรูซาเล็มถูกยึด แต่พระคัมภีร์บันทึกว่า ยึดแค่วันเดียวเท่านั้น เพราะพระเจ้าทรงส่งทูตสวรรค์องค์หนึ่งมาช่วยปลดปล่อยเยรูซาเล็ม ซึ่งอิสยาห์ได้กล่าวทำนายไว้ว่า “เพราะฉะนั้น พระยาเวห์ตรัสเกี่ยวกับพระราชาของอัสซีเรียดังนี้ว่า ‘เขาจะไม่เข้าในนครนี้หรือยิงธนูไปที่นั่น หรือถือโล่เข้ามาข้างหน้านคร หรือสร้างเชิงเทินต่อสู้กัน เขามาทางไหน เขาจะต้องกลับไปทางนั้น เขาจะไม่เข้ามาในนครนี้ พระยาห์เวห์ตรัสดังนี้แหละ’” (อิสยาห์ 37:33-35)

         ที่น่าสนใจคือ มีเพียงภาพเมืองลาชิสห์ที่ได้รับการบรรยายอย่างชัดเจนในเมืองนีนะเวห์ของอัสซีเรีย ไม่มีภาพของเยรูซาเล็ม เซนนาเคอริบอาจคุยอวดได้ว่าพระองค์มีชัยชนะเหนือลาชีสห์ แต่การประลองกำลังครั้งสุดท้ายระหว่างพระเจ้าแห่งสวรรค์ และเทพทั้งหลายของประเทศอัสซีเรีย ได้แสดงให้เห็นการปลดปล่อยประชากรของพระองค์ พระเจ้าทรงเห็นการรุกรานของอัสซีเรีย พระองค์ได้ยินการอธิษฐานของเฮเซคียาห์ และเราได้เห็นพระเจ้าทรงทำการในประวัติศาสตร์

    พระเจ้าผู้ทรงปลดปล่อยชนอิสราเอลในเวลานั้น พระองค์จะทรงทำแบบเดียวกันเมื่อท่านอธิษฐานขอความช่วยเหลือ ขอเพียงแค่ท่านวางใจในพระองค์เท่านั้น

 

_________________________________________________

วันอังคารดาเนียล เนบูคัดเนสซาร์ และบาบิโลน

Daniel, Nebuchadnezzar and Babylon

      เดือนกรกฎาคม ปี ค.ศ. 2007 ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเวียนนากำลังทำงานในโครงการสำหรับพิพิธภัณฑ์บริทิส เมื่อพวกเขาพบแผ่นบันทึกอักษร ช่วงเวลาของเนบูคัดเนสซาร์ กษัตริย์แห่งบาบิโลนที่เยเรมีย์กล่าวไว้ในเยเรมีย์ 39:3 ถึง “เนโบสารเสคิม” (Nebusarsekim) ซึ่งเป็นนายทหารคนหนึ่งของกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์

      อ่าน ดาเนียล บทที่ 1 และ 5 การตัดสินใจของดาเนียลในฐานะผู้เชื่อพระเจ้าและผู้เผยพระวจนะส่งผลต่อผู้คนในประวัติศาสตร์อย่างไร บทที่ 10 พระคัมภีร์เป็นประวัติศาสตร์ 93

ดาเนียล “ตั้งใจว่าจะไม่ทำให้ตัวเป็นมลทิน” (ดาเนียล 1:8) จะสัตย์ซื่อต่อพระเจ้าในสิ่งที่จะรับประทานและการอธิษฐาน นี่เป็นอุปนิสัยดี ที่ได้รับการหล่อหลอมจากประสบการณ์ตั้งแต่อายุยังน้อย ทำให้ท่านเข้มแข็งตลอดชีวิต ผลลัพธ์ที่ได้คือท่านมีความคิดแจ่มใส มีสติปัญญา และความเข้าใจจากเบื้องบน นี่คือสิ่งที่กษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ และเบลชัสซาร์ยอมรับ จึงทำให้ดาเนียลได้รับการแต่งตั้งให้มีตแหน่งสูงสุดในอาณาจักร แต่ที่สำคัญกว่าคือมีส่วนทำให้กษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์กลับใจด้วย (ดาเนียล 4:34-37)

       กษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ เป็นโอรสของ “นาโบโปลาสซาร์” (Nabopo­lassar) ทั้งสองได้ช่วยกันสร้างกรุงบาบิโลนให้เจริญรุ่งเรืองมากกว่าเมืองใดๆ ในยุคโบราณ (ดาเนียล 4:30) กรุงบาบิโลนใหญ่โตมหึมา มีวิหารมากกว่า 300 แห่ง มีพระราชวังที่งามวิจิตรพิสดาร มีกำแพงสองชั้น และกำแพงมีความหนา 22 ฟุต กำแพงเมืองมีประตูใหญ่แปดประตู ประตูทุกแห่งเป็นชื่อเทพเจ้าของชาวบาบิโลน ประตูที่มีชื่อเสียงที่สุดชื่อ “อิสทาร์” (Ishtar) ไม่นานมานี้นักโบราณคดีชาวเยอรมันได้ขุดพบ และนำไปสร้างขึ้นใหม่ในพิพิธภัณฑ์ “เปอร์-กามัม” ที่กรุงเบอร์ลิน

         ในดาเนียล 7:4 กรุงบาบิโลนได้รับการพรรณนาว่าเป็นสิงโตมีปีกนกอินทรี ในนิมิตเป็นภาพขบวนแห่เดินมุ่งหน้าสู่ประตูอิสทาร์ ซึ่งมีรูปปั้นสิงโต 120 ตัว ตั้งอยู่ตามรายทาง สิงโตแต่ละตัวมีขนาดใหญ่อยู่ในท่าหมอบ พร้อมจะกระโจนเข้าใส่เหยื่อ มีการพบรูปปั้นสิงโตเหล่านี้ระหว่างการขุดหาสิ่งมีค่าในประวัติศาสตร์และยังยืนตระหง่านอยู่นอกเมืองในปัจจุบัน สิ่งเหล่านี้เป็นพยานว่าสิงโตเป็นสัญลักษณ์ที่เหมาะกับกรุงบาบิโลนที่ยิ่งใหญ่ ทั้งประ-วัติศาสตร์พระคัมภีร์และคำพยากรณ์ได้รับการยืนยันว่าเป็นความจริง

         ดาเนียล 1:8 กล่าวว่า “ดาเนียลตั้งใจว่าจะไม่ทำให้ตัวเป็นมลทิน” ความตั้งใจนี้มีจุดประสงค์เพื่ออะไร

 

________________________________________________

พุธ

พระเยซูในประวัติศาสตร์

The Historical Jesus

        

       อ่าน มัทธิว 26:57-67; ยอห์น 11:45-53 และ ยอห์น 18:29-31 คายาฟาสกับปอนทิอัส ปีลาตคือใคร และเขาทั้งสองได้ตัดสินใจทำอะไรกับพระเยซู

       คายาฟาสเป็นมหาปุโรหิต และเป็นผู้วางแผนกำจัดพระเยซูด้วยความตาย บทบาทของคายาฟาสถูกบันทึกไว้โดยโจเซฟัส (Josephus) นักประวัติ-ศาสตร์ชาวยิวว่า “คายาฟาสถอดโยเซฟ มหาปุโรหิตออกจากตำแหน่ง แล้วแต่งตั้งอันนาส บุตรของมหาปุโรหิตคนก่อนเพื่อรับช่วงต่อจากเขา” (Josephus Complete Works (Grand Rapids, MI: Kregel Publications, 1969), เล่ม 18, บทที่ 4, หน้า 381)

      ปี ค.ศ. 1990 หลุมฝังศพของครอบครัวหนึ่งถูกค้นพบทางใต้ของเยรู-ซาเล็ม มีหีบทำด้วยหินใส่กระดูก นอกจากนี้ยังพบเหรียญเงินและเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งมีอายุประมาณกลางศตวรรษที่หนึ่ง สิ่งที่อยู่ในหีบหินมีกระดูกหลายชุด และมีชื่อสลักว่า “โยเซฟบุตรของคายาฟาส” ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า ว่านี่คงเป็นหลุมฝังศพ และหีบบรรจุกระดูกของคายาฟาส มหาปุโรหิต ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับความตายของพระเยซู ปี ค.ศ. 1961 แผ่นจารึกชื่อของปอนทิอัส ปีลาต ข้าหลวงในแคว้นยูเดีย สมัยของจักรพรรดิ ทิเบริอัส ถูกพบบนก้อนหินในโรงมโหรสพที่เมือง “ซีซารีอา มาริทิมา” (Caesarea Maritima)

      ทั้งสองกรณีนี้ เป็นหลักฐานสำคัญที่ยืนยันถึงน่าเชื่อถือเกี่ยวกับการสิ้นพระชนม์ของพระคริสต์ นักประวัติศาสตร์ในช่วงสองศตวรรษแรกได้เขียนบรรยายถึงพระเยซูแห่งนาซาเร็ธด้วย นักประวัติศาสตร์โรมันชื่อ “ทาซิตัส” (Tacitus) ได้เขียนถึงพระคริสต์ และการถูกตรึงโดยปีลาต ช่วงการครองราชย์ของจักรพรรดิทิเบริอัส และคริสเตียนยุคแรกที่เข้าไปตั้งรกรากในกรุงโรม และเขียนถึง “พลินีที่หนุ่มกว่า” (Pliny the younger) ได้รับการแต่งตั้งเป็นข้าหลวงจากรัฐบาลโรมัน ได้เขียนไปถามจักรพรรดิ “ทราจัน” (Trajan) ว่า เขาควรปฏิบัติต่อพวกคริสเตียนอย่างไร เขาบรรยายว่า พวกคริสเตียนนัดพบกันตอนเช้ามืด ก่อนตะวันขึ้น ตามวันกำหนดที่แน่นอน เพื่อร้องเพลงสรรเสริญ เป็นการนมัสการเทพเจ้า

     การค้นพบทางโบราณคดี และข้อมูลจากประวัติศาสตร์เป็นหลักฐานพิเศษที่ไม่ใช่พระคัมภีร์ แต่กล่าวถึงชีวิตของพระเยซู ที่คริสเตียนนมัสการใน 50 ปีแรกหลังการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ พระกิตติคุณจึงเป็นเรื่องของพระเยซู ที่เราควรศึกษาอย่างถี่ถ้วนเพื่อจะได้รู้จักพระองค์ให้มากขึ้น

แม้การค้นพบทางโบราณคดีจะเป็นหลักฐานที่ช่วยสนับสนุนความเชื่อของเรา แต่เราก็ไม่ควรให้ความเชื่อของเราอิงกับสิ่งเหล่านี้เป็นหลัก เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น

 

_________________________________________________

วันพฤหัสบดี ความเชื่อและประวัติศาสตร์

Faith and History

      เราไม่ได้อยู่คนเดียวโดดๆ การเลือกของเราจึงมีอิทธิพลต่อคนอื่นด้วย ชีวิตประชากรของพระเจ้าในสมัยโบราณ มีอิทธิพลต่อคนที่อยู่ร่วมสมัยกับพวกเขา ในฮีบรู บทที่ 11 เป็นรายชื่อของผู้เชื่อที่มีชื่อเสียงทั้งชายและหญิง ที่เราเห็นถึงอิทธิพลของพวกเขา

      อ่าน ฮีบรู 11:1-40 มีบทเรียนอะไรบ้างที่เราได้รับจากบุคคลเหล่านี้ (เอโนค โนอาห์ อับราฮัม ซาราห์ โยเซฟ โมเสส นางราหับ และแซมสัน)

    

    ความเชื่อไม่ใช่แค่การเชื่อในบางสิ่งหรือบางคนเท่านั้น แต่เป็นการกระทำเพื่อตอบสนองต่อความเชื่อนั้นด้วย ความเชื่อเช่นนี้จึงจะนับได้ว่าเป็นความชอบธรรม การกระทำตามความเชื่อเช่นนี้ได้เปลี่ยนประวัติศาสตร์ การกระทำเหล่านี้ขึ้นอยู่กับการวางใจในพระวจนะของพระเจ้า

โนอาห์สร้างเรือด้วยความเชื่อ ท่านเชื่อพระวจนะของพระเจ้าเหนือกว่าประสบการณ์และเหตุผล เพราะก่อนหน้านั้นไม่เคยมีฝนตก ประสบการณ์ และเหตุผลชี้ว่าไม่มีเหตุผลที่ฝนจะตกทำให้น้ำท่วมโลกแน่นอน แต่โนอาห์เชื่อฟังพระเจ้า จึงทำให้เผ่าพันธุ์ของมนุษย์รอดพ้นจากความพินาศ อับราฮัม96 การตีความหมายพระคัมภีร์

     อาศัยอยู่กับครอบครัวที่เมืองเออร์ ทางทิศใต้ของเมโสโปเตเมีย ซึ่งเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกในเวลานั้น อับราฮัม และครอบครัว (และหลานชาย)ได้อพยพจากตัวเมือง และญาติพี่น้อง โดยไม่ทราบว่าพระเจ้าจะทรงนำไปแห่งใด อับราอัมเชื่อฟังพระสัญญาของพระเจ้า โมเสสก็เลือกเป็นคนเลี้ยงแกะ และนำประชากรของพระเจ้าเดินทางไปสู่แผ่นดินแห่งพระสัญญามากกว่าจะเป็นกษัตริย์ปกครองอียิปต์ที่เป็นอาณาจักรยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกในเวลานั้น โมเสสวางใจการทรงเรียกของพระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ที่เรียกเขาออกมาจากพุ่มไม้ที่มีไฟไหม้ นางราหับแห่งเมืองเยรีโคได้เชื่อและวางใจเรื่องพระเจ้าทรงปลดปล่อยชนอิสราเอลจากการเป็นทาสของประเทศอียิปต์ นางได้ปกป้องผู้สอดแนมสองคน และได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในวงศ์ตระกูลของพระเยซู เราทราบน้อยมากถึงผลการการตัดสินใจของเราที่จะมีต่อคนรุ่นหลัง

      นับเป็นการตัดสินใจที่สำคัญยิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อหน้าท่าน ท่านจะทำการตัดสินใจอย่างไร เหตุใดท่านจึงตัดสินใจเช่นนั้น

_________________________________________________

วันศุกร์

ศึกษาเพิ่มเติม:

      อ่านหนังสือของ เอลเลน จี. ไว้ท์, ดาวิดและโกลิอัท, บรรพชนและผู้เผยพระวจนะ, หน้า 643-648 เฮเซคียาห์, หน้า 331-339 การปลดปล่อยจากอัสซีเรีย, หน้า 349-366 ผู้เผยพระวจนะและกษัตริย์, ตอนที่ 4 วิธีการศึกษาพระคัมภีร์ ซึ่งพบได้ที่ http://www.adventistbiblicalresearch.org/Materials/bible-interpretation-hermeneutics/methods-bible-study

“พระคัมภีร์เป็นหนังสือที่มีอายุมากที่สุด และเป็นประวัติศาสตร์เกี่ยวกับมนุษยชาติที่คนรู้จักมากที่สุด เป็นของใหม่สดจากน้ำพุแห่งความจริงนิรันดร์ และตลอดยุคสมัย พระหัตถ์ของพระเจ้าได้ทรงรักษาความบริสุทธิ์ของพระ-คัมภีร์ไว้ ซึ่งได้ส่องสว่างจากอดีตที่ยาวนาน ขณะที่การค้นหาของมนุษย์ล้มเหลวที่จะเห็นทะลุ พระวจนะของพระเจ้าเท่านั้นที่เราเห็นอำนาจที่วางรากฐานของแผ่นดินโลก และขยายออกสู่สวรรค์ ตรงนี้เท่านั้นที่เราได้พบเรื่องราวของแท้น่าเชื่อถือ เกี่ยวกับจุดเริ่มต้นของมนุษยชาติ ตรงนี้พระเจ้าทรงประทานบทที่ 10 พระ

ประวัติศาสตร์เผ่าพันธุ์มนุษย์ ที่ไม่เสื่อมทรามลงเพราะความมีอคติ และความหยิ่งของมนุษย์” (เอลเลน จี. ไว้ท์, การศึกษา, หน้า 173)

      “คนใดที่มีความรู้ของพระเจ้า และพระวจนะของพระองค์ เท่ากับได้ฝังรากฐานความเชื่อของพระเจ้า จากพระคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ เขาจะไม่ทดสอบพระคัมภีร์กับความคิดเห็นทางวิทยาศาสตร์ของมนุษย์ แต่เขานำแนวคิดเหล่านี้สู่การทดสอบกับมาตรฐานที่ไม่ผิดพลาด เขาทราบว่าพระวจนะของพระเจ้าเป็นความจริง และความจริงจะไม่ขัดแย้งกับตัวเอง คำสอนทางวิทยาศาสตร์ที่ขัดแย้งกับความจริงจากการเปิดเผยของพระเจ้า สิ่งนั้นเป็นเพียงการสันนิฐานของมนุษย์”

“การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ฉลาดจะเปิดความคิดและข้อมูลให้กว้าง” (เอลเลน จี. ไว้ท์, คำพยานสำหรับคริสตจักร, เล่ม 8, หน้า 325)

คำถามเพื่อการอภิปราย:

1. จากคำถามสุดท้ายของเนื้อหาในวันพุธ เป็นการดีเมื่อพบหลักฐาน จากการขุดค้นทางโบราณคดี ที่ช่วยยืนยันความจริงของประวัติ- ศาสตร์พระคัมภีร์ แต่จะมีอะไรเกิดขึ้น เมื่อหลักฐานทางโบราณ- คดีให้ความหมายที่ขัดแย้งกับเรื่องในพระคัมภีร์ สิ่งนี้ควรบอกให้ เราอิงกับพระวจนะของพระเจ้า โดยไม่หวั่นไหวกับการกล่าวอ้าง ทางโบราณคดีและวิทยาศาสตร์อย่างไร

2. คำพยากรณ์ที่ได้เกิดขึ้นจริงในอดีต เช่น ดาเนียล บทที่ 2 และ 7 ที่ได้เกิดขึ้นแล้วในประวัติศาสตร์ สิ่งเหล่านี้ช่วยให้เราไว้วางใจ พระเจ้าเกี่ยวกับอนาคตอย่างไร

 

       Previous/บทที่แล้ว  Next/บทต่อไป  Contents/สารบํญ